Frankshin Article


ออฟฟิศซินโดรม
บ่นทุกวันว่าปวดโน่นปวดนี่ แต่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมสักที จะโทษใคร...
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดี 25 กันยายน 2557 เวลา 00:02 น.             เห็นได้ชัดว่านับวันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด แน่นอนพฤติกรรมการใช้ผลผลิตทางเทคโนโลยีก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากเดิมที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นช่วงหนุ่มสาววัยทำงาน แต่ปัจจุบันได้ลุกลามทั้งในกลุ่มเด็กหรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ จนเกิดเป็นพฤติกรรมที่เห็นจนชินตาในการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ โดยไม่ตระหนักถึงภัยเงียบใกล้ตัวอย่าง “ออฟฟิศซินโดรม” และ “นิ้วล็อก” โรคร้ายยอดฮิตของคนเสพติดโซเชียลมีเดีย ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยของคนวัยทำงาน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนอย่างพนักงานออฟฟิศ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ชอบดูหนังฟังเพลงหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งสาเหตุของโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นจากพฤติกรรม บุคลิกภาพและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือทำอะไรเป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ และหากทำงานในอิริยาบถที่ผิดซ้ำๆต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนั้นสภาพโต๊ะทำงานที่ไม่สะดวกต่อการหยิบจับสิ่งของ การกดแป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ รวมถึงการนั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้
         ส่วน อาการนิ้วล็อก (Trigger Finger) เป็นอาการที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานอย่างหนัก หรือใช้นิ้วเป็นเวลานาน ทำให้นิ้วเกิดการเกร็ง มีอาการปวด และคดงอ พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัยแต่จะส่วนใหญ่จะพบมากในกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องใช้เครื่องมือสื่อสารตลอดเวลา และกลุ่มผู้มีอาชีพที่ต้องใช้มือ เช่น พนักงานพิมพ์ดีด หรือนักกอล์ฟ นอกจากนี้ยังเกิดกับกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุที่ติดเกมติดแชทด้วย โดยผู้ป่วยที่มีอาการนิ้วล็อก เวลางอหรือเหยียดนิ้วจะมีเสียงเหมือนการง้างไกปืน ซึ่งแพทย์ออร์โธปิดิกส์มักเรียกอาการนี้ว่าโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ การอักเสบของพังผืด หรือเส้นเอ็นอักเสบ
           ทั้งนี้ ศ.นพ.ภานุพันธ์ ทรงเจริญ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ในปัจจุบันคนทำงานออฟฟิศหรือมนุษย์เงินเดือนมีมากขึ้น และส่วนใหญ่จะทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ6-8ชม. โดยกลุ่มคนที่พบบ่อยคือกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุ 20-40ปี แต่ใน               ปัจจุบันคนที่เสพติดเกมและโซเชียลเพิ่มขึ้นคือกลุ่มคนช่วงวัยเกษียณ อายุตั้งแต่ 60ขึ้นไป ซึ่งคนไข้กว่า20-30% ที่เข้ารับการตรวจกระดูกและพบว่าตนเองเป็นโรคเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมหรือนิ้วล็อกส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าอาการปวดนั้นเกิดจากสาเหตุใด
ดยเฉพาะในปัจจุบันที่คนมีอายุหันมาเล่นเครื่องมือไอทีมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่วงวัยที่ยากต่อการรักษา ดังนั้น บุคคลกลุ่มเสี่ยงควรตระหนักและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมซ้ำซาก ต้นเหตุของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้า การปลูกต้นไม้ การหิ้วของหนักหรือการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เพราะเมื่อเกิดอาการปวดเรื้อรังตำแหน่งเดิมต่อเนื่อง นั่นแปลว่าโรคดังกล่าวได้แทรกซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วนั่นเอง นอกจากนั้นควรฝึกยืดเหยียดร่างกาย และการทำกายบริหารบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรค ศ.นพ.ภานุพันธ์ ได้ให้คำแนะนำการเลือกใช้เก้าอี้ที่เหมาะสมในการทำงานว่า เก้าอี้ที่ดีควรมีพนักพิงหลังที่รองรับหลังได้พอดี มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ไม่นิ่มหรือสปริงมากเกินไป การนั่งควรให้หลังชนพนัก โดยจะอยู่ในท่านั่งที่เหมาะสมไม่ต้องเอนตัวไปด้านหน้า ไม่สูงจนเกินไปโดยขาต้องพื้น หรือต่ำไปจนเข่าไม่ตั้ง90องศาก็ไม่ดี นอกจากนี้ยังต้องมีพื้นที่ให้เหยียดเท้าไปข้างหน้าได้ หากรู้เช่นนี้แล้วถึงเวลาหรือยัง ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินไป อย่าใช้ อย่าทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือจำเป็นต้องทำต่อเนื่องก็ควรกายบริหารยืดกล้ามเนื้อบ้างทุกชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก สำนักการแพทย์,รพ.วิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.nj-asap.com/

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 20.51 KBs
Upload : 2014-09-27 00:17:01
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.022647 sec.