Frankshin Article
ชุดผลิตไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากไขพืชหรือไขสัตว์
มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดีเซลทั่วไป ตรงกับที่จะนำไปใช้ในการจุดระเบิดเครื่องยนต์ดีเซล ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขมันของพืชหรือสัตว์ ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดี 16 ตุลาคม 2557 เวลา 00:00 น.
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้มีการจัดตั้งโรงงานสกัดและแปรรูปปาล์มน้ำมันขึ้นในปี 2531 เพื่อรองรับผลผลิตของปาล์มน้ำมันจากแปลงทดลองมาสกัดและแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพื่อการบริโภค
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทดลองนำน้ำมันปาล์มมาใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งศูนย์ฯ ได้เริ่มทำการทดลองใช้กับรถแทรกเตอร์ลากพ่วง และรถไถเดินตามปรากฏว่าประสบความสำเร็จ
ไบโอดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากไขพืชหรือไขสัตว์มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดีเซลทั่วไป
ตรงกับที่จะนำไปใช้ในการจุดระเบิดเครื่องยนต์ดีเซล ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขมันของพืชหรือสัตว์ หรือน้ำมันที่เหลือใช้จากการทอดอาหารประเภทจานด่วน
นำมาผ่านกรรมวิธีการเปลี่ยนให้เป็นเอสเทอร์ โดยกรองให้สะอาดแล้วผสมกับแอลกอฮอล์ เพื่อให้ทำปฏิกิริยา โดยมีสารโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งให้เป็นเอททิล หรือเมทิลเอสเทอร์
โดยที่ต้นทุนในการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบที่เป็นน้ำมันปาล์มดิบ (กรดไม่เกิน 5%) อยู่ที่ 15 บาท ค่าใช้จ่ายในการดีกัมและลดกรด 1.33 บาท ส่วนค่าการผลิตน้ำมันดีเซล จะประกอบด้วยค่าเมทานอล 0.2 ลิตร 4.53 บาท ค่าโซดาไฟ 0.0075 กิโลกรัม 0.14 บาท ค่าไม้ฟืน 0.41 บาท ค่าไฟฟ้า 1.10 บาท ค่าแรงงาน 2.80 บาท
รวมต้นทุนทั้งหมดในการผลิตต่อน้ำมันดีเซล 1 ลิตร คือ 25.31 บาท ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลในท้องตลาดทั่วไปขณะนี้จะขึ้นลงอยู่ที่ 29 -30 บาท
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีการปลูกปาล์มน้ำมันก็สามารถนำน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้ปรุงอาหารแล้วมาใช้ได้
คุณสมบัติของดีเซลที่ได้เครื่องยนต์จะระบายควันเสียที่มีอันตรายน้อย เขม่าฝุ่นลดลงมากถึง 31% คาร์บอนมอนอกไซด์ลดลง 21% และสารไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดลดลง 47% ลดปริมาณกำมะถันและอะโรแมดิกส์
ไบโอดีเซลรหัส B 100 ไม่มีสารก่อมะเร็งจากควันเสียเครื่องยนต์ เมื่อนำไปใช้กับเครื่องจักรกลการ เกษตร ก็จะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิตของเกษตรกรเอง
สำหรับที่ศูนย์ฯ ได้นำมาใช้กับรถลากพ่วง รถหกล้อ รถกระบะ และเครื่องจักรกลการเกษตรทุกชนิด ผลการสตาร์ตปกติและควันไม่ดำ แถมมีกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่นจากน้ำมันทอดปลา และยังช่วยระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบันศูนย์ ได้ขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของราษฎรในพื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ สามารถลดรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงกับเครื่องจักรกลการเกษตรได้มาก
สำหรับเกษตรกรที่สนใจเข้าศึกษาดูงานและเรียนรู้เครื่องต้นแบบและวิธีการผลิตสามารถเข้าดูได้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 56.49 KBs
Upload : 2014-10-16 15:23:55
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031701 sec.