Frankshin Article


ิBiogas
            ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างหลากหลาย เช่นของเสียหรือน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ หรือแม้แต่ของเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือจากพืชพลังงานต่างๆ
            ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แก่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และหน่วยงานอื่นๆ ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนที่มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้ เช่นน้ำเสีย/ของเสีย/ของเหลือทิ้ง ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ ชุมชนและสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ดำเนินการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพและ นำก๊าซชีวภาพที่ได้ไปใช้เป็นพลังงานทดแทนทั้งน้ำมันและก๊าซ ในการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้า ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง พพ. จึงได้กำหนดให้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่อยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25 % ใน 10 ปี ( พ.ศ.2555 -2564) โดยเป้าหมายตามแผนคือภายในปี พ.ศ. 2564 จะต้องใช้ก๊าซชีวภาพจากเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 600 MW และผลิตความร้อนรวม 1,000 ktoe นอกจากนั้นแล้วยังมีเป้าหมายผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าอีก 3,000 MW
           ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ ชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ ติดตั้งระบบผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น พ.พ. จึงได้จัดทำฐานข้อมูลแสดงสถานที่ติดตั้งและใช้งานระบบก๊าซชีวภาพทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในสถานประกอบการที่มีการติดตั้งระบบแล้วทุกแห่งซึ่งจะทำให้ทราบสถานภาพการผลิต ทั้งปริมาณที่ผลิตได้เป็นลูกบาศก์เมตรต่อปี (NM3/ปี) และการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้า (MW) ผลิตความร้อน (ktoe) และผลิตก๊าซชีวภาพอัด (ton) ในทุกอำเภอทั่วประเทศแสดงโดยแสดงทั้งในรูปข้อมูลและแผนที่ทางภูมิศาสตร์ที่สามารถปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ ปี
              นอกจากแสดงข้อมูลสถานภาพการผลิตก๊าซชีวภาพทุกแห่งในประเทศแล้ว ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศยังแสดงข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือข้อข้อมูลแสดงการประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัตถุดิบทุกชนิดที่ยังคงเหลืออยู่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ ทั้งของเสียและของเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการ ภาคเกษตร และท้ายที่สุดคือจากพืชพลังงาน กรมพพ.ได้ทำการศึกษาและรวบรวมและจัดทำเป็นฐานข้อมูลแสดงศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพที่คงเหลืออยู่ของประเทศ โดยข้อมูลศักยภาพดังกล่าวมีรายละเอียดในทุกอำเภอทั่วประเทศในรูปของข้อมูลและแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แสดงข้อมูลทั้งปริมาณที่สามารถผลิตเพิ่มได้เป็นลูกบาศก์เมตร (NM3/ปี) เทียบเท่าพลังไฟฟ้าติดตั้ง (MW) หรือเทียบเท่าพลังงานความร้อน (ktoe) หรือเทียบเท่าก๊าซชีวภาพอัด (ton/ปี)
              ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศที่ กรมพพ.ได้จัดทำขึ้นนี้ เป็นข้อมูลที่สำรวจและประเมินศักยภาพประจำปี 2557 (สรุปข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2557) โดยในอนาคต กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะมีการปรับปรุงให้ข้อมูลมีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอเพื่อ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป
               สรุปข้อมูลที่ใช้ในการประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มปศุสัตว์ ใช้เกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้
• สุกร ให้มูล 2-3 กิโลกรัม./ตัว/วัน ผลิตก๊าซชีวภาพได้ระหว่าง 0.08-0.083 ลูกบาศก์เมตร /วัน ใช้ค่า 0.08 ลูกบาศก์เมตร
• เป็ด ให้มูล 0.03 กิโลกรัม./ตัว/วัน ผลิตก๊าซชีวภาพได้ระหว่าง 0.00195-0.022 ลูกบาศก์เมตร วัน ใช้ค่า 0.00195 ลูกบาศก์เมตร
• โค ให้มูล 5-15 กิโลกรัม./ตัว/วัน ให้ก๊าซชีวภาพได้ระหว่าง 0.023-0.061 ลูกบาศก์เมตร /วัน ใช้ค่า 0.023 ลูกบาศก์เมตร
• ไก่ ให้มูล 0.03 กิโลกรัม./ตัว/วัน ผลิตก๊าซชีวภาพได้ระหว่าง 0.00195-0.027 ลูกบาศก์เมตร /วัน ใช้ค่า 0.0195 ลูกบาศก์เมตร
• แพะ ให้มูล 2-3 กิโลกรัม./ตัว/วัน ผลิตก๊าซชีวภาพได้ระหว่าง 0.023-0.061 ลูกบาศก์เมตร /วัน ใช้ค่า 0.023 ลูกบาศก์เมตร
• ปริมาณมีเทน (CH4 ) ประมาณ 50-65% ระบบเป็น Fixed Dome, UASB, MCL • ประสิทธิภาพระบบ เฉลี่ย 60%
• ประมาณราคาค่าก่อสร้าง 10 kW ประมาณ 1,000,000 บาท หรือ บ่อหมักลูกบาศก์เมตรละ 4,000 บาท
สรุปข้อมูลที่ใช้ในการประเมินศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพในชุมชนและสถานประกอบการ ใช้เกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้
• 1 ตันเศษอาหาร สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 100 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณมีเทน (CH4 ) ประมาณ 65% ระบบเป็น CSTR, TWO-STAGE CSTR ประสิทธิภาพระบบ อยู่ระหว่าง 60-80 %
• 1 ตันขยะอินทรีย์ สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 50-58 ลูกบาศก์เมตร มีเทน (CH4 ) ประมาณ 40-50% ระบบเป็น CSTR, ABR, Solid Digester ประสิทธิภาพระบบ อยู่เฉลี่ย 60%
• 1 ตันสิ่งปฏิกูล สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 20-22 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณมีเทน (CH4 ) ประมาณ 50-60% ระบบเป็น UASB, CSTR ประสิทธิภาพระบบ อยู่เฉลี่ย 60% ราคาประมาณการก่อสร้าง10 kW ประมาณ 3,000,000 บาท หรือ ถังหมักลูกบาศก์เมตรละ 12,000 บาท

ที่มา http://biogas.dede.go.th/biogas/web_biogas/


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 46.00 KBs
Upload : 2014-11-07 21:47:42

Size : 46.36 KBs
Upload : 2014-11-07 21:47:42

Size : 44.38 KBs
Upload : 2014-11-07 21:47:42
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.033102 sec.