Frankshin Article
โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ
แม่ที่อายุเกิน 35 ปีในระหว่างตั้งครรภ์
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 00:00 น.
ครอบครัวที่กำลังจะมีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมา ในระหว่างตั้งครรภ์ผู้เป็นแม่ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ให้กับลูกน้อย โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จัดเสวนาในหัวข้อ “โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด” ศ.นพ.กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กล่าวถึงโรคหัวใจผิดปกติแต่กําเนิดว่า สถานการณ์โรคหัวใจผิดปกติแต่กําเนิดในปัจจุบัน พบได้ 1 ใน 3 เป็นทารก พูดง่าย ๆ คือ ถ้า
ทารก 1,000 คน จะเป็นโรคนี้ 7.7 ราย และ มีแค่ร้อยละ 1 ที่รู้ตัวตั้งแต่แรกคลอด
โดยในแต่ละปีมีคนไข้ที่ต้องการการผ่าตัดประมาณ 5,000-6,000 ราย แต่สามารถผ่าตัดได้เพียง 3,500 คน ที่เหลือต้องรอรับการผ่าตัดต่อไป
“โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ แม่ที่อายุเกิน 35 ปีในระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้ง อาจมีความสัมพันธ์กับ
การติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรืออาจเกิดจากการที่มารดาได้รับยาสารเสพติดหรือสารเคมีขณะตั้งครรภ์ รวมถึง เกิดจากตัวเด็กเองที่มีโครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม และเกิดจากการผิดปกติของการแบ่งตัวของช่องหัวใจเด็กเอง
ทั้งหมดล้วนส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในเด็กบางราย” โรคหัวใจผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น
2 ชนิด
โดยชนิดแรก
คือ ชนิดเขียว
หรือ มี
ออกซิเจนในเลือดต่ำ
ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งปกติแล้วเลือดดำจะไม่ปะปนกับเลือดแดง ส่งผลทำให้เด็กเกิดภาวะขาดออกซิเจน ผิวหนังจึงมีสีเขียว ๆ ม่วง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ชัดขณะร้องหรือดูดนม โดยคนไข้กลุ่มนี้จะมีความผิดปกติได้หลายแบบและอาการค่อนข้างรุนแรง การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มนี้จะน้อยกว่าปกติมาก เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ
อีกชนิด คือ ชนิดไม่เขียว เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่มีการผสมกันของเลือดดำและเลือดแดงจึงไม่ทำให้เกิดอาการเขียว โดยความผิดปกติที่พบอาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทมีอาการรั่วเกิดขึ้น หรือไม่กว้างเท่าปกติเกิดอาการตีบขึ้น หรือหลอดเลือดตีบเกินปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวนี้ มี 3 สัญญาณเตือนให้ทราบ โดยสัญญาณแรก คือ ไม่มีอาการผิดปกติ แต่ ตรวจพบเสียงหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยบังเอิญ ได้แก่ เสียงฟู่ของหัวใจ มีอาการหัวใจวาย สัญญาณต่อมา คือ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง ทำให้เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย ในเด็กเล็กมักดูดนมได้ครั้งละน้อย ๆ หยุดพักบ่อย หายใจเร็ว น้ำหนักตัวขึ้นช้า และตัวเล็กกว่าปกติ สัญญาณสุดท้าย เป็นลมหมดสติ มักพบในรายที่มีอาการตีบแคบอย่างรุนแรงของหลอดเลือดแดงในส่วนลิ้นหัวใจ
ส่วนในเรื่องของเด็กกับภาวะหัวใจล้มเหลว ศ.นพ.กฤตย์วิกรม กล่าวว่า
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อย หายใจเร็ว น้ำหนักตัวขึ้นช้า หรือตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
อาจพบร่วมกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทั้งชนิดไม่เขียวและเขียว หรือในผู้ป่วยบางรายนั้นก็สามารถเกิดขึ้นในภายหลังได้ โดยเด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การรับประทานอาหาร บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาบุตรหลานอย่างจริงจัง
สำหรับ
แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
สามารถรักษาได้ด้วยยา เพื่อประคับประคองอาการในรายที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มากและมีโอกาสหายได้เอง รวมทั้ง รักษาด้วยการสวนหัวใจ ในผู้ป่วยที่สามารถใส่อุปกรณ์สายสวนหัวใจได้ อีกทั้ง รักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล ซึ่งการผ่าตัดส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ความเสี่ยงของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความผิดปกติของหัวใจ รวมทั้ง สภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย
ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
การรักษาจะมีการใช้ยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยควบคุมและบรรเทาอาการเหนื่อยให้น้อยลงในกลุ่มโรคหัวใจชนิดเขียวที่มีปริมาณเลือดในปอดมาก รวมทั้ง การรักษาโดยใช้สายสวนหัวใจ เช่น การรักษาโดยใช้บอลลูนไปขยายลิ้นหัวใจพัลโมนารีในกลุ่มที่มีการตีบหรือตันของทางออกหัวใจด้านขวา และการผ่าตัด ขึ้นกับชนิด และความซับซ้อนของความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งเทคนิค ขั้นตอน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของโรค โดยผู้ป่วยมีความจําเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามต่อเนื่อง สำหรับวิธีคัดกรองการเกิดโรคหัวใจผิดปกติในเด็ก
ศ.นพ.กฤตย์วิกรม กล่าวว่า สามารถทำได้โดยอันดับแรก เมื่อวางแผนจะมีบุตร
ก่อนตั้งครรภ์คุณพ่อ คุณแม่ ควรมาตรวจร่างกาย รับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ก่อนมีลูก พร้อมทั้ง รักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจของแม่
หรือในครอบครัวที่ลูกคนแรกมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการที่จะมีลูกคนที่ 2 ว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกคนที่ 2 เป็นโรคดังกล่าว
ด้วยจะต้องทำการตรวจตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ อัลตราซาวด์ เจาะน้ำคร่ำ
“จากนั้น ตรวจตอนคลอดออกมาเป็นทารกแล้ว รวมถึง การสกรีนตอนเด็กอยู่โรงเรียน ซึ่งเดี๋ยวนี้หลายโรงเรียนจะมีโปรแกรมให้แพทย์ไปตรวจสุขภาพทั่วไปของเด็ก เช่น การเช็กฟัน เช็กตา และฟังเสียงหัวใจ เนื่องจากการตรวจสุขภาพวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสกรีนคนไข้ได้ และสุดท้ายคือ รอให้คนไข้มีอาการค่อยมาพบแพทย์”
ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ แนะนำว่า ผู้ดูแลจะต้องระมัดระวังในการใช้ยา ไม่ควรลดหรือเพิ่มยา ถ้ายาหมดก่อนเวลานัดหมายต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาก่อน ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความรุนแรงของโรค เช่น เด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบในบางรายจำเป็นต้องจำกัดปริมาณการให้นมต่อมื้อ เพราะถ้ากินนมมากเกินไปอาจเกิดการสำลักได้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ส่วนเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบ ควรตรวจร่างกายประจำปี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานสูง และควรได้รับวัคซีนเสริมบางชนิด
หมั่นดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ควรพบทันตแพทย์ตรวจฟันทุก 6 เดือน และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าป่วยเป็นโรคหัวใจ งดออกกำลังกายที่หักโหม
รวมทั้ง ดูแลเรื่องการขับถ่าย โดยฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นนิสัย เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่มองไม่เห็น มีอาการ เหนื่อย แน่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลมได้. .................................
....................................................................
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 53.37 KBs
Upload : 2014-11-10 18:12:48
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.027147 sec.