Frankshin Article
การออกแบบผลิตภัณฑ์
‘เทคโนโลยี 3 มิติพัฒนาบรรจุภัณฑ์’
พลังขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันพุธ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 00:00 น.
ไม่เพียงรูปแบบที่มีความหลากหลาย สีสันสวย ๆ ชวนมองของบรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับสินค้ายังมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งมีบทบาทต่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของประเทศ เทคโนโลยีการผลิตต้นแบบที่สามารถผลิตชิ้นงานในลักษณะ 3 มิติ เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานในอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design and Development) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
ฯลฯ นับเป็นอีกความก้าวหน้ารวมถึงเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีการบรรจุ ก่อเกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีการบูรณาการระหว่างการผลิตและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ร่วมกัน
ผศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ความรู้ กล่าวถึงเทคโนโลยีการผลิต
ต้นแบบผลิตชิ้นงาน 3 มิติ โดยล่าสุดทางภาควิชาติดตั้งใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3 D Printer หรือ Rapid Prototyp) เพื่อใช้ในการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ 3 มิติเพิ่มศักยภาพในการวิจัยด้านการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร ตอบสนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน
ว่า เทคโนโลยีการบรรจุมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออกในภูมิภาคอาเซียนจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้จริง ช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีต้นทุนที่เหมาะสม ลดการสูญเสียของสินค้าระหว่างขนส่งและจัดจำหน่าย “เทคโนโลยีการผลิตต้นแบบผลิตชิ้นงาน 3 มิติด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ในโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเน้นทั้งงานวิจัยและการบริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ครบวงจร ทั้งในด้านการออกแบบโครงสร้างและการออกแบบกราฟิก การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน”
เครื่องมือดังกล่าวสามารถนำมาใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ได้มากมาย
ทั้งยังสามารถออกแบบโครงสร้างได้หลากหลายไร้ขอบเขตและสามารถจะนำไปผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้
บรรจุภัณฑ์สามมิติที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อน ตอบโจทย์การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์สินค้าของประเทศเราที่อาจจะยังไม่มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
รวมถึงมีความหมายต่อการสร้างแรงดึงดูดใจผู้บริโภค สร้างรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เป็นแบรนด์ของเราเองได้
ปัจจุบันการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง แต่อาจอยู่ในรูปแบบของสองมิติ ออกแบบสร้างสรรค์ในคอมพิวเตอร์ บนกระดาษ ซึ่งไม่สามารถจับต้องตัวดีไซน์ได้จริง หลังจากส่งแบบดีไซน์ไปสู่ขั้นตอนการผลิตบางครั้งอาจผิดเพี้ยน ไม่ดึงดูดใจผู้บริโภค ฯลฯ ภาพรวมจึงทำให้เกิดการสูญเสียทั้งในเรื่องของเวลาและต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่หากได้รับการตรวจทานแก้ไขในรูปแบบสามมิติจะช่วยให้นักวิจัยหรือนักออกแบบสามารถพัฒนารูปแบบได้หลากหลายมากขึ้นและด้วยรูปแบบเสมือนจริง สัมผัสจับต้องได้จริง ทำให้ลดข้อจำกัดนำไปสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในอนาคต ต่างจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านมา
“
การพิมพ์สามมิติเครื่องจะสร้างชิ้นงานต้นแบบโดยการพิมพ์ทีละชั้นตามแนวระนาบจนได้ชิ้นงานต้นแบบที่สมบูรณ์ เพื่อให้เห็นรูปทรงต้นแบบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เป็นการสร้างแบบจำลองผลิตภัณฑ์ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งการขึ้นรูปต้นแบบจะใช้วัสดุเรซิ่น(Resin) เหลวชนิดไวแสง สร้างต้นแบบเสมือนจริง
บรรจุภัณฑ์มีส่วนสำคัญสร้างแรงจูงใจทำให้เกิดการซื้อขายเป็นเสมือนจุดเชื่อมกลาง ดังนั้นการพัฒนาหากเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วย่อมส่งผลดี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจะเห็นได้อย่างเด่นชัด
ดังเช่น
ผลิตภัณฑ์แชมพู
มีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงที่มีความอ่อนช้อยเพิ่มขึ้น เปลี่ยนรูปแบบฝาบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้การพิมพ์สามมิติมาสร้างรูปทรงใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค”
ครีมอาบน้ำเด็ก
เป็นอีกภาพความชัดเจนที่พบเห็นได้ โดยพบว่ามีรูปร่างใหม่ ๆ มีรูปทรงของการ์ตูนดึงดูดใจ,
นมกระป๋อง
แต่เดิมจะเห็นกระป๋องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทรงกระบอก แต่ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์กระป๋องมีรูปร่างแปลกตาออกไป กระป๋องนมมีรูปทรงใหม่ ๆ ซึ่งต้นแบบสามมิติเป็นสิ่งเริ่มต้นให้เห็นภาพว่าจะพัฒนาไปเป็นรูปแบบใดได้บ้างและสามารถนำไปผลิตจริงได้หรือไม่ ฯลฯ
เรียกว่าบรรจุภัณฑ์สามมิติมีความโดดเด่นหลายด้านทั้งสร้างความเสมือนจริง ลดความเสี่ยง สร้างความมั่นใจในการดำเนินการธุรกิจ บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบสามมิติในความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นทั้งรูปร่างและฟังก์ชั่นที่จะเสริมกัน
อย่างเช่น บรรจุภัณฑ์น้ำดื่มรูปดัมเบล อาจเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกาย อีกทั้งการดีไซน์ฝาขวดแบบใหม่ ๆ สอดคล้องกับโครงสร้าง ความคิดสร้างสรรค์แทนรูปแบบการหมุน การดึง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน ขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับไมโครเวฟจะเห็นว่ามีหลากหลายรูปแบบ อย่าง ภาชนะใส่อาหารพร้อมทานมีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้น
ในอนาคตจึงอาจต้องพัฒนารูปลักษณะให้เสริมรับกับสินค้ายิ่งขึ้นและด้วยความโดดเด่นของ
การพิมพ์สามมิติ
ซึ่งถอดจินตนาการความฝัน ให้เห็นเป็นความจริงที่จับต้องได้ ที่กำลังมีการพูดถึงและจับตามองสำหรับการนำ
มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design) นวัตกรรมดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ เช่น ทางการแพทย์
นำมาใช้สร้างชิ้นส่วนของมนุษย์และสัตว์ให้มีความใกล้เคียงกับของจริงได้ โดยแพทย์อาจสั่งสแกนกระดูกส่วนที่ตรวจพบความผิดปกติ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยได้มากกว่าการดูจากภาพสองมิติ หรือสร้างชิ้นส่วนซ่อมแซมที่ไม่สมบูรณ์ ฯลฯ
นำมาใช้ใน อุตสาหกรรมของเล่นเด็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้าน การออกแบบเครื่องประดับ การออกแบบสถาปัตยกรรม และการออกแบบทางวิศวกรรม ฯลฯ
ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง เริ่มต้นได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังสร้างเอกลักษณ์ของตนเองได้ โดยจะเห็นได้จากหลากหลายบรรจุภัณฑ์มีรูปทรง รูปแบบที่เมื่อแรกเห็นทราบได้ทันทีถึงผลิตภัณฑ์สินค้า ทั้งนี้เพราะรูปร่างเป็นสิ่งที่บ่งบอกเอกลักษณ์ได้
อนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สามมิติจะเป็นอีกสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สินค้าไทยได้มากยิ่งขึ้น ด้วยบทบาทสำคัญของบรรจุภัณฑ์
ความต่อเนื่องของการพัฒนาสิ่งที่ภาควิชาเล็งเห็น
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุกล่าวเพิ่มอีกว่า จากที่ภาควิชาเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุมากว่า 30 ปี ถือเป็น
สถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ถึงระดับปริญญาเอกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
ที่ผ่านมามุ่งเน้นส่งเสริมงานวิจัย 5 ศูนย์หลัก ทั้งศูนย์วิจัยด้านวัสดุย่อยสลายทางชีวภาพและการบรรจุที่ยั่งยืน, ศูนย์วิจัยวัสดุเชิงประกอบขั้นสูงและวัสดุสมาร์ท ซึ่งเน้นงานวิจัย พัฒนาวัสดุการบรรจุที่ทำจากวัสดุเชิงประกอบหลายชนิด, ศูนย์วิจัยด้านการบรรจุเพื่อการขนส่งผลิตผลการเกษตร เน้นการพัฒนาระบบการบรรจุทั้งบรรจุภัณฑ์ชั้นใน บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก, ศูนย์วิจัยและศูนย์ทดสอบวัสดุสัมผัสอาหาร มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารและศูนย์ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฯ ซึ่งพร้อมถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำ รวมทั้งพัฒนาการสร้างสรรค์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ ส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยในเวทีโลกด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ยั่งยืน. .................................................................................
บรรจุภัณฑ์ในอนาคต นอกเหนือจากความสวยงาม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จต้องมองในเรื่องเทคโนโลยีและงานดีไซน์ควบคู่กัน
ผศ.ดร.ธัญญารัตน์ ให้มุมมองเพิ่มอีกว่า
บรรจุภัณฑ์ในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นรูปทรง ดีไซน์ หรือมิติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในรูปทรง
อย่างเช่น การบรรจุแบบดัดแปลงบรรยากาศ การพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บอาหาร การพัฒนารูปทรงบรรจุภัณฑ์ซึ่งมีผลช่วยปกป้องสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งมีความสำคัญต่อระบบการขนส่ง ฯลฯ ในงานดีไซน์มีการปรับเปลี่ยน เคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เหมาะกับสินค้า เหมาะกับวิธีการขนส่ง การวางบนชั้นวาง ฯลฯ ซึ่งต้องสอดคล้องกัน
อนาคตจึงเป็นไปได้ยากที่จะระบุถึงรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้การดีไซน์ไม่มีการหยุดนิ่ง แปรเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้บริโภค ในแต่ละภูมิภาคของโลก แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มการใช้วัสดุจะน้อยลง เรียบง่าย แต่มีความหลากหลายขึ้น
อย่างเช่น บรรจุภัณฑ์มีรูปแบบบางลง ใช้วัสดุน้อย รูปทรงหลากหลาย เรียบง่ายแต่มีความชัดเจนในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า ดึงดูดใจ อีกทั้งอาจใช้วัสดุธรรมชาติในบางครั้งด้วย เป็นต้น. พงษ์พรรณ บุญเลิศ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 43.52 KBs
Upload : 2014-11-10 18:46:36
Size : 31.57 KBs
Upload : 2014-11-10 18:46:36
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.029041 sec.