Frankshin Article
วิธีจัดการศึกษา
วิธีจัดการศึกษา -โลกาภิวัฒน์ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น ศาสตราจารย์ ดร.เคลย์ คริสเตนเซ่น แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้นำเสนอรูปแบบทางธุรกิจเพื่อจัดการการศึกษา เพื่อสร้างคุณค่าต่อบัณฑิต
เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดี 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา 00:00 น.
ในช่วงที่หลายประเทศมีปัญหาเรื่องจัดการศึกษานั้น มหาวิทยาลัยพยายามที่จะหาวิธีการจัดการเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีงานทำและมุ่งสู่งานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อความอุดมสมบูรณ์พูนสุขของประชาชน สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น ศาสตราจารย์ ดร.เคลย์ คริสเตนเซ่น แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้นำเสนอรูปแบบทางธุรกิจเพื่อจัดการการศึกษา เพื่อสร้างคุณค่าต่อบัณฑิต ให้ตอบสนองต่อผู้ใช้บัณฑิต อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคมที่น่าสนใจ โดยรูปแบบจำลองทางธุรกิจประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักที่สัมพันธ์กันดังนี้
1. นำเสนอหลักสูตรที่ตอบสนองต่อผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และค่าใช้จ่ายในการเรียนที่เหมาะสม เมื่อจบแล้วทำงานได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว หลักสูตรเหล่านี้จะต้องนำเสนอในด้านคุณค่า (Value proposition)
ที่ตอบสนองต่อบัณฑิต ธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ใช้บัณฑิต และเพื่อทำงานและดำรงชีวิตต่อไป ก็จะเป็นคนที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม ประเทศ และเสียภาษีเพื่อตอบสนองต่อสังคม ประเทศที่ผู้เรียนอยู่
2. การพิจารณาทรัพยากรในมหาวิทยาลัยทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ หลักสูตรการเรียนการสอน จะต้องมีการลงทุนในคุณภาพที่ดี เพื่อตอบสนองคุณค่าในข้อที่ 1 คือถ้าหากเป็นหลักสูตรที่มีค่ามากและแพง ก็จะต้องลงทุนมากด้านทรัพยากร โดยคุณค่าต่อคุณภาพนั้นจะต้องพิจารณาทั้งคุณสมบัติ ความรู้ของคณาจารย์ และความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนหรือมหาบัณฑิตจะต้องได้รับความรู้อย่างมีคุณภาพ และสามารถเสริมความรู้และทักษะเพื่อสร้างประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างคุ้มค่า ส่วนงานวิจัยจะต้องสามารถประยุกต์และสร้างสิทธิบัตร นวัตกรรมที่เกิดคุณประโยชน์ อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ ประเทศและภูมิภาค
3. มหาวิทยาลัยจะต้องมีกระบวนการทำงานที่มุ่งสู่วงจรคุณภาพและปรับปรุงระบบ กลไกและกระบวนการทำงานโดยการมุ่งถึงประโยชน์และคุณค่าที่จะต้องมอบให้กับผู้เรียนตลอดทุกกิจกรรม
ตั้งแต่วิธีการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อรับนักศึกษาเข้าจะต้องให้ความจริงแก่ผู้เรียน เพื่อไม่เกิดความคาดหวังที่ผิดพลาดกับผู้เรียนหลังเรียนจบ ทุกกระบวนการเกี่ยวกับการเรียนการสอนจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ทั้งสองช่องทางเพื่อเกิดการถ่ายทอดความรู้ และเรียนรู้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างทักษะที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่บัณฑิตมุ่งหวังหรือทำงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ประเทศและภูมิภาค
4. สำคัญมากคือการมีเงินที่เรียกว่า “กำไร” เหลือพอที่จะสร้างคุณภาพการจัดการในมหาวิทยาลัยได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตตามทิศทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยเงินเหลือจากกำไรนั้นจะต้องจัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยโดยภาพรวมและความร่ำรวย ไม่มุ่งสู่การค้ากำไรและความร่ำรวยในระยะสั้น ๆ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพการศึกษาได้เสมอทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ทั้ง 4 องค์ประกอบเริ่มวงจรจากองค์ประกอบแรกผ่านทั้ง 4 องค์ประกอบด้วยวงจรคุณภาพอย่างต่อเนื่องก็สร้างทิศทางความเจริญเติบโตให้กับมหาวิทยาลัยและเศรษฐกิจสังคมที่มหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งผู้ที่อ่านพิจารณาดูรูปแบบที่นำเสนอที่ปรับปรุงจาก ดร.คริสเตนเซ่น ของฮาร์วาร์ด ไม่ต่างจากมาตรฐานธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Business) เลย
หรือด้วยความบังเอิญก็แล้วแต่ แต่ผู้เขียนเห็นว่าหลักคิดดี ๆ ของไทยมีอยู่แล้วในหลายสิ่ง สามารถนำมาปรับใช้ได้ทันที.
รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 35.05 KBs
Upload : 2014-11-21 21:40:04
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031707 sec.