Frankshin Article


พิพิธภัณฑ์นอกตำรา
จากห้องเรียนของนักศึกษาแพทย์สู่แหล่งความรู้ของคนทั่วไป ห้องเรียนใหญ่ที่เผยกลไกมหัศจรรย์การทำงานของร่างกายมนุษย์
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ 24 พฤศจิกายน 2557 เวลา 00:01 น.
          จากห้องเรียนของนักศึกษาแพทย์สู่แหล่งความรู้ของคนทั่วไป พิพิธภัณฑ์ศิริราช ห้องเรียนมนุษย์ใบใหญ่ที่เผยกลไกมหัศจรรย์การทำงานของร่างกายมนุษย์ พิพิธภัณฑ์ศิริราช แบ่งออกเป็น 2 พิพิธภัณฑ์หลัก ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นการรวบรวมแหล่งการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และทางการแพทย์ โดยแบ่งออกเป็น 20 ห้องให้เดินชม ได้แก่ ห้องแรกโถงต้อนรับ, ห้องศิริสารประพาส, ห้องศิริราชขัตติยพิมาน, ห้องพิมุขมงคลเขต, ฐานป้อม, เครื่องถ้วยโบราณ, แผนที่เมืองธนบุรี, ห้องโบราณคดีราศัสตา, ห้องคมบรรหาร, งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์, หุ่นกายวิภาคมนุษย์, ห้องสมเด็จพระบรมราชนก, หุ่นวิเคราะห์โรค, อาจารย์ใหญ่, ห้องการจำลองการผ่าตัด, ห้องมหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์, ร้านโอสถวัฒนา, สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี), ห้องวิถีชีวิตชาวบางกอกน้อยและห้องสุดท้าย คือ เรือโบราณ
         สำหรับห้องที่พาชม เริ่มกันที่ ห้องศิริราชขัตติยพิมาน เป็นห้องที่จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราชและการแพทย์ของประเทศไทย, ห้องการจำลองการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดจำลองย้อนยุคที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันในการปฎิบัติ ผู้ชมสามารถเห็นอุปกรณ์เครื่องมือจริงที่ใช้ผ่าตัด รวมถึงวีดิทัศน์การผ่าตัดให้รับชม, ร้านโอสถวัฒนา เป็นการจำลองร้านขายยาสมุนไพรหลายร้อยชนิด พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หลากหลาย พัฒนามาเป็นการผลิตยาด้วยเทคนิคที่ทันสมัย, วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย ประกอบด้วยโรงละคร บทกวี ร้านค้า และศาลาโรงธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาและห้องสุดท้ายคือเรือโบราณ เป็นเรือไม้โบราณมีความยาว24เมตรที่ถูกฝังกลบมากกว่า 100 ปี เป็นเรือไม้ลำใหญ่ที่สุดที่เคยขุดได้ หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย ต่อมาเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช จัดตั้งขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อใช้ประกอบการสอนและจัดแสดง เผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ  โดยมีพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส เป็นการจำลองพร้อมแสดงเครื่องมือที่ผ่านการใช้งานจริงเรียนรู้การทำงานของหัวใจและโรคหัวใจประเภทต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุการตายสำคัญ และพัฒนาการและความพิการของทารกในครรภ์ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน เป็นการจัดแสดงสาเหตุของการตายผิดธรรมชาติที่แพทย์ต้องค้นหา เพื่อเป็นหลักฐานทางคดี ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีการรวบรวมวัตถุพยานของคดีที่ตัดสินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นศพนักโทษที่ถูกประหารชีวิตจากการฆ่าข่มขืน, เสื้อผ้าของ “นางพยาบาลนวลฉวี” ที่เป็นคดีฆาตกรรมของแพทย์ที่ฆ่าภรรยาตนเอง อันเกิดจากความหึงหวงและศพ “ซีอุย” ที่กินตับและหัวใจของเด็ก โดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ แม้จะมีหลักฐานพยานและรูปคดีที่บ่งชี้ว่า ซีอุย ไม่ได้ฆ่าเด็กทุกคน มีเพียงเด็กคนสุดท้ายเท่านั้นที่เป็นหลักฐานมัดตัว จึงเป็นที่สงสัยว่าเหตุใดซีอุยจึงรับสารภาพว่า เป็นผู้ฆ่าเหยื่อทุกรายและนำอวัยวะมากิน ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นของรูปคดีที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดในปัจจุบัน รวมทั้งยังมีอวัยวะที่ถูกจากการทำร้ายต่าง ๆ ให้ชม นอกจากนั้นยังมีอีก3พิพิธภัณฑ์ย่อยได้แก่ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอนและพิพิธภัณฑ์และห้องปฎิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
         นายอรรถชัย ลิ้มเลิศเจริญวนิช นักวิชาการ (โบราณคดี) พิพิธภัณฑ์ศิริราช กล่าวว่า ความตั้งใจอันดับแรกให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้มากกว่าในห้องเรียน ต่อมาจึงจัดให้ประชาชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งนี้ด้วย โดยมีป้ายขึ้นมาคร่าว ๆ เข้าใจง่าย ประชาชนสามารถตระหนักได้ถึงสุขภาพ เนื่องจากอวัยวะที่นำมาจัดแสดงมีทั้งจากการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ และผลเสียจากการดื่มสุรา แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์แห่งนี้เหมาะกับทุกวัย
            ค่าบริการเข้าชมในราคาเดียวทั้ง 2 พิพิธภัณฑ์สำหรับชาวต่างชาติ 300 บาท, ผู้ใหญ่ (อายุ18ปีขึ้นไป) 150 บาทและเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) 50 บาท หากต้องการรับชมเพียงพิพิธภัณฑ์เดียว ชาวต่างชาติ 200 บาท, ผู้ใหญ่ 80 บาท และเด็ก 25 บาท เด็กที่มีส่วนสูงไม่เกิน 120 เซนติเมตร เข้าชมฟรีทุกพิพิธภัณฑ์ เปิดให้บริการวันจันทร์และวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา10.00-17.00 น.

ชนัดดา บุญครอง


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 52.38 KBs
Upload : 2014-11-24 19:08:23
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.029115 sec.