Frankshin Article
โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่
ข่าวพลังงาน for student 3/คธ. ภาคเรียนที่2/2557
โมเดล 'โรงไฟฟ้ากระบี่'
โดย ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม ไทยรัฐออนไลน์ 25 พ.ย. 2557 05:31
อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา โรงไฟฟ้าถ่านหินเยอรมันต้นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม-อยู่ร่วมชุมชน “ในระยะ 10–20 ปีนี้
ถ่านหินยังเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าที่ดีที่สุดของประเทศไทย
” นายอนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุชัดเจนระหว่าง
นำคณะสื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อมจากประเทศไทยไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 15-20 พ.ย.2557ที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์ เพื่อจะนำความรู้ด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมาปรับใช้กับแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทย
ซึ่ง “ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” ได้ร่วมคณะติดตามไปเยี่ยม
ชมโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่งและโรงไฟฟ้าพลังงานลม 1 แห่งด้วย
โรงไฟฟ้าถ่านหินเยอรมันต้นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม-อยู่ร่วมชุมชน แห่งแรก คือ
โรงไฟฟ้าถ่านหิน Schwarze Pumpe เป็นของบริษัท Vattenfall ตั้งอยู่ที่ เมือง Spremberg
ทางตะวันออกของเยอรมนีติดกับประเทศโปแลนด์
โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็น โรงไฟฟ้าถ่านหินปลอดคาร์บอนไดออกไซด์
ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงหลัก ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 เครื่อง กำลังการผลิตรวม 1,600 เมกะวัตต์
พลังงานความร้อน จากขบวนการผลิตได้นำไปใช้ในเขตเมืองข้างเคียง เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 2541
และ
โรงไฟฟ้าถ่านหิน Power Plant of Mainova ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำไมน์ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต
โดยรอบโรงไฟฟ้าเต็มไปด้วยบ้านพักอาศัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ แม้มีการลำเลียงขนถ่ายถ่านหินแบบระบบเปิดสามารถมองเห็นด้วยตาได้ก็ตาม
ส่วน โรงไฟฟ้าพลังงานลม Binselberg wind park เป็นของบริษัท HSE ตั้งอยู่ที่ เมือง Binselberg เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนประเภทพลังงานลม
ประกอบด้วย กังหันลม 2 ต้น ต้นละ 2,000 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 9,000 เมกะวัตต์ต่อปี
ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 5,800 ตันต่อปี
สิ่งที่ ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม สัมผัสได้จากการร่วมดูงานครั้งนี้ คือ
“คน เยอรมันไม่กลัวโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เนื่องจากมั่นใจในระบบการเผาไหม้ซึ่งมี ประสิทธิภาพสูง เ
พราะโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง
ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด อาทิ ซับบิทูมินัส (sub-bituminus) บิทูมินัส (bituminus) และแอนทราไซด์ (anthracite) ก
ารปล่อยมลพิษจึงน้อยและสามารถ
ควบคุมได้ทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co
2
) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (So
2
)
และฝุ่นละอองต่างๆ ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ได้
เพราะไฟฟ้าที่ใช้เป็นหลักอยู่ในประเทศเยอรมนีก็มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ส่วน โรงไฟฟ้าพลังงานลม เรามองว่าน่าจะเป็นได้เพียงพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกเท่านั้น
หันกลับมาทาง กฟผ. บ้าง
การไปดูงานครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทยขนาด 800 เมกะวัตต์ พร้อมโครงการท่าเรือถ่านหินบ้านคลองรั้ว ที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของ กฟผ.ที่มีโรงไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2507 ผลิตไฟฟ้าขนาด 60 เมกะวัตต์ ให้กับคนภาคใต้ 8 จังหวัด ทั้งนี้ ตามแผนต้องส่งรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ประมาณเดือน ธ.ค.2557 จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติและจะเริ่มก่อสร้างในปี 2559 และแล้วเสร็จในปี 2562
นอกจากนี้ กฟผ.ยังเตรียมก่อสร้าง โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ขนาด 2,200 เมกะวัตต์ ในเนื้อที่ 2,000 ไร่
ซึ่งจะเข้ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นประมาณต้นเดือน ม.ค.2558
“โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 แห่งเป็นการสร้างเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ใช้ระบบปิดทั้งหมดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต
ที่ผ่านมาเราอาจจะมีบทเรียนความผิดพลาดมาบ้าง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาจนเรียกได้ว่าเป็นโรง ไฟฟ้าถ่านหินสะอาด คือ มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถดักจับ มลพิษและของเสียที่เกิดขึ้นจนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเวลาเดียวกันก็ยังสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ประชาชนยอมรับได้” นายอนุชาต กล่าวยืนยัน
“ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” มองว่าการมีพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะเป็นพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ที่เป็นการเพิ่มศักยภาพของการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าด้วย ย่อมเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกประเทศในโลก
แต่สิ่งหนึ่งที่เราอดห่วงไม่ได้และคงต้องขอฝากไว้คือ ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยกับเยอรมนี แตกต่างกัน เนื่องจากเยอรมนีมีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงเกี่ยวกับนวัตกรรมทางด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเป็นประเทศผู้ส่งออกเทคโนโลยีและอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานหลายชนิด เช่น พลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน
ขณะที่ประเทศไทยเกือบจะเป็นในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยเฉพาะที่สำคัญคือข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับคือ ถึงวันนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของ กฟผ.ที่ จ.กระบี่ ยังมีการต่อต้านอย่างรุนแรง ดังนั้น ไม่เพียง กฟผ.ต้องรับฟังข้อมูลจากคนในพื้นที่ แต่หัวใจสำคัญคือต้องสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นให้ประชาชนทั้งประเทศ เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นโศกนาฏกรรมที่จะเกิดซ้ำรอยขึ้นอีกในอนาคต...
ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม
post on Dec.2.2014.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 86.66 KBs
Upload : 2014-12-02 14:32:45
Size : 124.08 KBs
Upload : 2014-12-02 14:32:45
Size : 81.09 KBs
Upload : 2014-12-02 14:32:45
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.033337 sec.