Frankshin Article


ดร.เกษียร
เกษียร เตชะพีระ : สิ่งที่ล้มเหลวคือระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระบบต่างหาก
ที่มา มติชนรออนไลน์ วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 07:30:00 น.
             วันที่ 8 ธันวาคม 2557ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนข้อความผ่านทาง เฟซบุ๊ก Kasian Tejapiraแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ เพราะผู้เป็นศิษย์ต้องการจะย้ายสาขาวิชาที่สังกัด ( คลิกอ่านข่าว ) โดยระบุถึงประเด็นที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาของนักศึกษาในข่าว หากพิจารณาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในหลายมหาวิทยาลัย ว่าสิ่งที่ล้มเหลวคือระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระบบต่างหาก ผมเห็นใจทั้งนักศึกษาและอาจารย์สองฝ่ายนะครับและคิดว่าแก่นเรื่องนี้ไม่ใช่การสะกดผิดของนักศึกษา(นั่นเป็นปัญหาแน่แต่ไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้)หรือการใช้น้ำเสียงตำหนิโทษอาจารย์ของนักศึกษา(ก็พอเข้าใจได้และอีกนั่นแหละไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้)แต่คือความล้มเหลวของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระบบ ผมพูดจากประสบการณ์สอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์มาร่วมสามสิบปีแน่นอนว่าท่านอื่นอาจมีประสบการณ์และข้อสรุปต่างกันไป ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาไม่work เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ได้เตรียมพร้อมหรือมีคุณสมบัติที่จะทำงานร่วมกัน นักศึกษาไม่ได้ต้องการให้อาจารย์แนะนำอะไรมากถ้าเขาสงสัยอะไรเพื่อนนักศึกษาด้วยกันแนะนำได้ใกล้ชิดตรงความต้องการ/สงสัยกว่าและเจ้าหน้าที่ธุรการคณะก็แม่นยำกฎระเบียบกว่า ฝ่ายอาจารย์ก็ไม่แม่นกฎระเบียบพูดตรง ๆ คือก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้ทำได้ไหมอนุญาตได้ไหมพอสงสัยก็ต้องยกหูโทรฯถามเจ้าหน้าที่และ office hours มีอยู่ แต่นักศึกษาก็มักไม่มาตอนนั้น ข้างอาจารย์ก็นัดเจอยากเย็น ยิ่งอยู่กัน ๒ campuses แบบธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์/รังสิต ยิ่งแล้วใหญ่ นักศึกษาก็จะรู้สึกหาตัวอาจารย์ยาก เหมือนถูกตัดหางปล่อยวัดหรือปล่อยเกาะ การจะเจอต้องใช้วิธีซุ่มโจมตี ดักพบที่ห้องสอนประจำก่อน/หลังเลิกชั้น หรือที่ห้องพักอาจารย์ระหว่างทานเที่ยง เป็นต้น
             ในที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาก็เป็นแบบแผนพิธีกรรมล้วน ๆ mere formalities ไม่มีเนื้อหาการแนะนำอะไรจริงจังลึกซึ้ง ต่างฝ่ายต่างเป็นคนแปลกหน้าต่อกันนั่นแหละ ที่ยังติดต่อกันอยู่ (ทั้งที่ไม่ได้อยากจะเจอกันเท่าไหร่ทั้งสองฝ่าย) ก็เพราะ 'ลายเซ็น' ตัวเดียวที่กฎบีบคั้นบังคับคาไว้ หากเริ่มจากความเป็นจริง ก็คงต้องบอกว่า นักศึกษาเอาตัวรอดจากปัญหาการเรียนและกฎระเบียบยุ่งยากวุ่นวายมาได้ เพราะ
๑) เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องนักศึกษาด้วยกันแนะนำ
๒) เจ้าหน้าที่ธุรการให้ข้อมูลคำปรึกษาเรื่องกฎระเบียบว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ หรือมีทางทำอย่างไร และ
๓) อาจารย์บางท่านที่อาจเพราะรับผิดชอบบริหารงานปริญญาตรีหรือเพราะมีมุทิตาจิตของความเป็นครูสูงได้กรุณาเสียสละผลัดเวรกันมาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่หน้ามืดจนแต้มตามหาล่าลายเซ็นไม่ได้แล้วเป็นต้น
๔)ขณะที่อาจารย์แต่ละท่านรู้จักมักคุ้นและให้คำแนะนำปรึกษาจริง ๆ กับนักศึกษาที่เรียนวิชาของตัวต่อเนื่องกันสองสามตัวจนพอคุ้นเคยและกลายเป็นลักษณะครูกับคณะลูกศิษย์เป็นกลุ่มก้อนที่ติดต่อใกล้ชิดมักคุ้นกันช่วยเหลือเกื้อกูลให้คำปรึกษาแนะนำกันอย่างได้ผลทั้งการเรียนการแก้ไขปัญหาจุกจิกการใช้ชีวิตอนาคตการงานฯลฯ
           ผมคิดว่าอย่าไปฝันเพ้ออุดมคติกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ เลิกเสียเหอะ มันไม่ทำงาน ใช้การไม่ได้แล้ว แต่สร้างระบบใหม่ขึ้นมาที่อิงความเป็นจริง ๔ ข้อนี้ที่มันทำงานได้ ให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือนักศึกษา และมีลายเซ็นให้พวกเขาได้อย่างทันเวลาเป็นระบบ
Comment เห็นด้วยกับ อ.ดร.เกษียร ค่ะ ปวรวรรณ
Post on Dec.9,2557.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 36.47 KBs
Upload : 2014-12-09 14:50:01
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.031776 sec.