Frankshin Article


มนุษย์ร่วมโลก
ปีนี้ครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาสหประชาชาติปี ค.ศ. 1954 ว่าด้วย สถานะคนไร้รัฐ ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้รวมทั้ง อนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี ค.ศ. 1961
เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ 21 พฤศจิกายน 2557 เวลา 00:00 น.
         ช่วงต้นเดือนนี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ได้เริ่มรณรงค์โครงการยากลำบาก กำจัดภาวะคนไร้รัฐ หรือ ความไร้สัญชาติ (Statelessness) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10 ล้านคนทั่วโลก ให้หมดไปภายใน 10 ปี เป้าหมายก็เพื่อป้องกันไม่ให้ “คนเถื่อน” เหล่านี้ มีชีวิตอยู่บนสังคมโลก ตลอดอายุขัยที่เหลือ โดยไม่มีหลักฐานเอกสารระบุตัวตนที่ถูกต้องตามกฎหมาย ของดินแดนอาณาเขตที่อาศัยอยู่ ปีนี้ครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาสหประชาชาติปี ค.ศ. 1954 ว่าด้วย สถานะคนไร้รัฐ ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้รวมทั้ง อนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี ค.ศ. 1961 ถือเป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ในการยุติความเป็นคนไร้รัฐของเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเหล่านี้
         จากข้อมูลของ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ถึงวันที่ 4 พ.ย. 2557ที่ผ่านมา มี 83 ประเทศทั่วโลก ที่เป็นภาคีให้สัตยาบันอนุสัญญายูเอ็นว่าด้วยคนไร้รัฐปี ค.ศ. 1954 และ 61 ประเทศเป็นภาคีของฉบับปี ค.ศ. 1961 โดยเมื่อ 3 ปีก่อนมีไม่ถึง 100 ประเทศ ที่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับ กลุ่มคนไร้รัฐไม่ได้รับการยอมรับในประเทศที่อาศัยอยู่ ไม่มีใบเกิดหรือสูติบัตร ใบระบุตัวตน เช่น บัตรประชาชน หรือเอกสารอื่น ๆ กรณีเหล่านี้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
          ในขณะนี้ จากเด็กที่เกิดจากแม่ที่ตั้งครรภ์ และหลบหนีการสู้รบออกจากซีเรีย แล้วคลอดบุตรในค่ายผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก ๆ 10 นาทีจะมีเด็กเกิดมาเป็นคนไร้รัฐ เมื่อไม่มีสัญชาติ  เด็กเหล่านี้จึงมักจะถูกปฏิเสธสิทธิและบริการต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศเสนอให้พลเมืองของตน ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การรักษาพยาบาล หรือการทำงาน เป็นต้น
         นอกจากนั้น ปัจจุบันมี 27 ประเทศ ที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิในการส่งผ่านการถือสัญชาติไปยังบุตร เหมือนสิทธิของผู้ชาย นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส ข้าหลวงใหญ่ ยูเอ็นเอชซีอาร์ บอกว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีชีวิตอยู่อย่างสิ้นหวัง เป็นชุมชนที่ถูกปิดบังซ่อนเร้น และถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากกลุ่มคนเจ้าของประเทศที่อาศัยอยู่ โดย 5 จุดที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ในขณะนี้ ประกอบด้วย
1. เมียนมาร์ ซึ่งชาวโรฮิงญากว่า 1.3 ล้านคนในประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกสุด ไม่มีสถานะทางกฎหมาย
2. สาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสัญชาติ ชาวเฮติทุกคนที่อพยพไปอยู่ในประเทศ
3. ไอวอรีโคสต์ มีผู้อพยพจากต่างแดนประมาณ 700,000 คน ที่ทางการไม่ให้การยอมรับว่าเป็นพลเมือง
4. กลุ่มคนที่พูดภาษารัสเซียจำนวนมาก ไม่ได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองลัตเวีย และ
5. ประเทศไทย ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 500,000 คน ที่ไม่ได้รับสัญชาติไทย แต่ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ไม่ระบุว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ
               กูเตอร์เรส กล่าวอีกว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหานี้มีความคืบหน้าบ้างพอสมควร การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ ทำให้อดีตคนไร้รัฐ กลายเป็นคนมีสัญชาติประมาณ 4 ล้านคนแล้ว รวมถึงกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อน “โรมา” เกือบทั้งหมด ที่กระจายอาศัยอยู่ทั่วยุโรป ตอนนี้ ยูเอ็นเอชซีอาร์ กำลังมุ่งให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์อย่างเต็มที่ ต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ในการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ และคาดหวังว่าน่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนถึงขณะนี้มี 27 ประเทศร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิของกลุ่มคนไร้รัฐ แม้ตัวเลขจะดูน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ 193 ประเทศ และ 2 รัฐผู้สังเกตการณ์ แต่มีแนวโน้มตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ.
เลนซ์ซูม
comment  เพื่อให้คนไร้สัญชาติ ไร้ปท. ไม่เป็นคนเถื่อน ยูเอ็นทำโครงการที่ทำได้ยาก-ปวรวรรณ
post on Wednesday 10 December 2014.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 68.55 KBs
Upload : 2014-12-10 21:57:14
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.028540 sec.

   
by