Frankshin Article
ถึงเวลาปรับสมดุล
ข่าวพลังงาน for นร.3/คธ. ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09:10 น. ข่าวสดออนไลน์
ถึงเวลาปรับสมดุล เพราะเรายืนอยู่บนความไม่แน่นอน พลังงานไฟฟ้า เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากเท่าไร ปริมาณการใช้ไฟฟ้ายิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้อัตราการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย
ในปัจจุบัน เราใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าถึง 66% ทำให้มีความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป
จึงต้องมีการปรับสัดส่วนแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าให้มีความสมดุล
ก๊าซธรรมชาติ
ราคาต้นทุนเฉลี่ย
3.32 บาท/หน่วย
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 66 %
ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนการใช้อยู่ถึง 66% ก๊าซธรรมชาติมีข้อดีคือ สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อย แต่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
ที่พิสูจน์พบแล้วว่ากำลังจะหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น
ถ่านหิน
ราคาต้นทุนเฉลี่ย
1.67 บาท/หน่วย
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 18 % ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองทั่วโลกจำนวนมาก สามารถใช้ได้อีกเป็นร้อยปี ทำให้มีราคาไม่แพง เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก
ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เป็นการพัฒนากระบวนการกำจัดหรือลดมลสารเพื่อนำถ่านหิน มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถกำจัดมลสาร เช่น ฝุ่นละอองก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกำจัดได้มากกว่าร้อยละ 90 และอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
พลังงานหมุนเวียน
กฟผ. สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของรัฐบาล ร้อยละ 25 ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564)
พลังงานหมุนเวียนมีข้อดี คือ สะอาด รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ได้ไม่มีวันหมด แต่ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า เพราะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา
-
แสงอาทิตย์
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 1.5% ราคาต้นทุนเฉลี่ย
10.93 บาท/หน่วย
ข้อจำกัด : ใช้พื้นที่มาก ราคาสูง ผลิตได้เฉพาะในเวลากลางวัน
-
ลม
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 0.5% ราคาต้นทุนเฉลี่ย
6.43 บาท/หน่วย
ข้อจำกัด : ใช้ได้ในบางพื้นที่ที่มีกำลังลมแรง ราคาสูง ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา
-
ชีวมวล
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 4% ราคาต้นทุนเฉลี่ย
3.23 บาท/หน่วย
ข้อจำกัด : เป็นผลพลอยได้จากการเกษตร ทำให้มีปริมาณจำกัด และขึ้นอยู่กับฤดูกาล
น้ำ ราคาต้นทุนเฉลี่ย
1.24 บาท/หน่วย
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 3 % พลังน้ำเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นผลพลอยได้จากการที่เขื่อนปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร
โดยนำกังหันผลิตไฟฟ้าไปติดตั้งเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สัดส่วนในการผลิตมีไม่มากเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่น เพราะประเทศไทยมีเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่น้อย และไม่สามารถสร้างเขื่อนเพิ่มได้อีก ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตามฤดูกาล
เพราะน้ำใช้ประโยชน์ในการชลประทานเป็นหลัก ส่วนการผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น
โดยมีคณะกรรมการที่มาจากหลายหน่วยงาน ร่วมกันพิจารณาว่าจะปล่อยน้ำมากหรือน้อยเพียงใด
ซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ราคาต้นทุนเฉลี่ย
1.58 บาท/หน่วย
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 6 %
เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ และยังไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ จึงมีความจำเป็นต้อง
ซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว และ มาเลเซีย
เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ แต่หากมีการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศมากเกินไป อาจเกิดความเสี่ยงในกรณีที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า และไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้ามาให้ประเทศไทยได้
น้ำมัน ราคาต้นทุนเฉลี่ย
5.64 บาท/หน่วย
สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้า 1 %
สำหรับการผลิตไฟฟ้า เราใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล
สำหรับใช้ในเตาเผาหรือต้มน้ำในหม้อไอน้ำ (บอยเลอร์)เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงและผันผวนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก จึงมีการใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การสร้างความสมดุลของการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะทำยังไงให้ทุกคนยังมีไฟฟ้าใช้ได้แบบยั่งยืน เราต้องเริ่มปรับสมดุลแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป หันมาเพิ่มแหล่งพลังงานที่มีปริมาณสำรองมากอย่างถ่านหิน และสามารถเป็นพลังงานหลักทดแทนก๊าซธรรมชาติได้
แล้วค่อย ๆ ปรับสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน เช่นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพลังงานเสริมให้ใช้มากขึ้น รวมถึงการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าและ เพื่อให้สัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า เป็นไปอย่างสมดุล
ที่มา : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2557 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม http://www.balanceenergythai.com http://www.youtube.com/user/BalanceEnergyThaic
comment
พลังงานน้ำและถ่านหิน ราคาถูกกว่าพลังงานตัวอื่่น ๆ และถ่านหินมีสำรองใช้ได้เป็นร้อยปี น้ำก็เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ดีกว่าพลังงานอื่น ๆ แต่สัดส่วนในการผลิตน้อยเพียง3% -ปวรวรรณ
post on Friday 12 December 2014.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 32.84 KBs
Upload : 2014-12-12 20:32:25
Size : 141.45 KBs
Upload : 2014-12-12 20:32:25
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.032591 sec.