Frankshin Article


ไม่เก่งเรียนอาชีวะ
'ธีระเกียรติ' ชี้สังคมไทยยังนิยมเด็กเก่งเรียนมหาวิทยาลัย ไม่เก่งเรียนอาชีวะ แนะต้องออกแบบปฏิรูปการศึกษาใหม่ เน้นเด็กเรียนอาชีวะมากขึ้น เพราะประเทศต้องการช่างฝีมืออีกมาก
เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร 16 ธันวาคม 2557 เวลา 16:30 น.
            วันนี้(16 ธ.ค.2557) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. กล่าวว่า วันนี้ค่านิยมและความคิดของคนในสังคมไทยที่ว่า ใครเก่งเรียนอุดมศึกษา ใครไม่เก่งเรียนอาชีวศึกษานั้น ยังคงมีอยู่ พ่อ แม่ ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเรียนสูง ๆ มุ่งสู่ปริญญาตรี ต่อยอดถึงด็อกเตอร์ แม้จะเป็นด็อกเตอร์ห้องแถวก็ยอม
            ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาที่สอนระดับอาชีวศึกษาหลายแห่งก็ผันตัวเองไปสอนอุดมศึกษา ซึ่งเรากำลังทำผิดทาง เพราะประเทศต้องการช่างฝีมือจำนวนมาก โรงงานต้องการคนจบอุดมศึกษาแค่ 10 % ที่เหลือต้องการคนที่มีฝีมือ   ดังนั้นตนเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ต้องออกแบบระบบใหม่ให้ดี การจัดการศึกษาทั้งหมดควรจะเป็นแนวระนาบ คือ เมื่อเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงระดับหนึ่ง เช่น จบชั้น ม.3 แล้ว การเรียนต่อหลังจากนั้นต้องเน้นความเก่งและเชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือเรียนเป็นแท่ง ๆ แต่สามารถข้ามไปเรียนอีกแท่งหนึ่งได้หากสอบผ่าน หรือมีความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ พอ ไม่ใช่จัดแบบปิรามิดที่ทุกคนมุ่งเรียนสูงให้ได้ปริญญาเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อไปว่า
            นอกจากนี้ ศธ.ต้องคิดร่วมกับทุกหน่วยงานในการวางแผนระบบการให้ค่าตอบแทนคนที่ทำงาน ให้ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน โดยมีการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นมาตรฐานตามฝีมือ ความเชี่ยวชาญ และมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะต้องไม่แพ้ หรือ ต้องดีกว่าคนที่จบปริญญา เพื่อดึงให้คนมาเรียนสายนี้ “การรณรงค์ให้คนมาเรียนสายอาชีพ มาช่วยกันสร้างชาติเพียงอย่างเดียว คงไม่ได้ผลและคงไม่สามารถลบค่านิยมการเรียนเพื่อปริญญาได้ มนุษย์รักตัวเองที่สุด ดังนั้นการบอกอะไรที่เป็นนามธรรมจะไม่ได้ผล ต้องได้เห็นประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมว่า จะได้อะไรเมื่อมาเรียนอาชีวะ ทั้งค่าตอบแทน ศักดิ์ศรี ความเป็นอยู่ ความสุขในการทำงานแต่หากจัดรูปแบบเดิมๆ เด็กอาชีวะก็คงหนีไม่พ้นถูกมองว่าเป็นนักเรียนชั้น 2 หรือ ชั้น 3 อยู่ดี”นพ.ธีระเกียรติกล่าว
comment  การเรียนอาชีวะ ขึ้นกับผู้ปกครอง ตัวเด็กนร.และสถานศึกษานั้น ๆ ด้วย  ทุกอย่างมีเหตุผลและที่มาต้องทำวิจัยสม่ำเสมอและนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาในแต่ละภาค แต่ละท้องถิ่น แต่ละปีต้องปรับปรุงตลอดเวลาฯลฯ -ปวรวรรณ
post on Saturday 21st December 2014.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 53.57 KBs
Upload : 2014-12-22 00:35:32
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.031851 sec.