Frankshin Article


คูลลิ่ง แบต
‘คูลลิ่ง แบต’ต้นแบบอาคารประหยัดไฟ
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ 4 มกราคม 2558 เวลา 04:56 น.
                 ประสบการณ์ด้านระบบทำความเย็นอุตสาหกรรมมา 27 ปี ของ กลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี. จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก “เทคโนโลยีอะวอร์ด” หมวดอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต จากสมาคมแอชเร่ย์(ASHRAE) สมาคมทางวิชาการด้านวิศวกรรมการปรับอากาศและทำความเย็นระดับโลก สหรัฐอเมริกา ผลงานและความเชี่ยวชาญของบริษัทได้นำมาประยุกต์ใช้กับการติดตั้งระบบความเย็นให้กับอาคารสำนักงานของ ไอ.ที.ซี. เองเมื่อมีการก่อสร้างอาคารสำนักงานขนาด 6 ชั้น ย่านรามคำแหง ที่เรียกว่า “คูลลิ่ง แบต” (Cooling Batt Building)
                อภิชัย ล้ำเลิศพงศ์พนา กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี. เล่าให้ฟังถึงความตั้งใจว่า การทำตึกแห่งนี้เพื่อจะตอบโจทย์การทำธุรกิจของบริษัทและเป็นต้นแบบให้กับการออกแบบอาคารสำนักงานที่ใช้พลังงานน้อยด้วยการออกแบบให้มีนวัตกรรมทำความเย็น เพื่อที่จะใช้ช่วยเรื่องของการอนุรักษ์ การลดร้อนภายใต้หลักการที่ว่า นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาขังไว้เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็น “เรารู้ว่าสิ่งที่ทำให้โลกร้อนคือคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเกิดการเผาไหม้ก็ลอยอยู่บนฟ้า เกิดภาวะเรือนกระจกขึ้น ทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติไป เพราะเดิมทีมีต้นไม้จำนวนมากเพื่อดูดคาร์บอนไดออกไซด์ ความสมดุลหายไป คาร์บอนไดออกไซด์ก็ลอยอยู่บนฟ้า สิ่งที่เราอยากจะทำคือ การลดใช้คาร์บอนไดออกไซด์” อภิชัย กล่าวและว่าปัจจุบันธุรกิจในกลุ่มปิโตรเคมีจับคาร์บอนไดออกไซด์มาขายให้กับบริษัทผลิตน้ำอัดลม หรือนำมาทำน้ำแข็งแห้ง เมื่อจับมาขังไว้เพื่อทำความเย็นโลกก็จะมีความสมดุลขึ้น
               ทั้งนี้แนวโน้มเทคโนโลยีระบบทำความเย็น จะพบว่าสารทำความเย็นในอนาคตจะมาจากธรรมชาติซึ่งมี 3 ตัวได้แก่ แอมโมเนียที่ใช้ในโรงน้ำแข็ง ก๊าซโพรเพนซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซแอลพีจี และก๊าซโพรเพนซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซแอลพีจี และก๊าซแอลพีจี และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในธุรกิจน้ำอัดลม โซดา เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด เมื่อเทียบกับแอมโมเนียที่มีปัญหาเรื่องกลิ่น ขณะที่โพรเพนเป็นสารที่ติดไฟเร็ว หลักการของกลุ่มบริษัท ไอ.ที.ซี. ในการนำคาร์บอนไดออกไซด์มาผลิตเป็นสารทำความเย็นนั้น อธิบายได้ว่า ภายในเครื่องปรับอากาศไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์ เพราะน้ำยาแอร์คือสารทีให้ความเย็น แต่นำคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นสารทำความเย็นให้แก่น้ำ โดยเปลี่ยนน้ำให้เป็นน้ำแข็งด้วยพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่มีอัตราค่าไฟฟ้าราคาถูก การสะสมความเย็นในรูปของน้ำแข็งนั้นจะเพียงพอกับการปรับอากาศช่วงเวลากลางวัน เมื่อต้องการทำความเย็นระบบปรับอากาศจะปั๊มหมุนเวียนให้น้ำเข้าออกเพื่อละลายน้ำแข็งเป็นน้ำเย็นไปแจกจ่ายความเย็นตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร ดังนั้นอาคารคูลลิ่งแบตจะใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้อยและนำความเย็นที่สะสมไว้มาใช้ในเวลากลางวัน โดยใช้พลังงานไฟฟ้าช่วงระหว่างวันไม่เกิน 25% เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไปจึงช่วยลดภาระการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศในช่วงเวลาพีคที่คนใช้มาก ช่วงเย็นกลางวัน
              ทั้งนี้ภายในอาคารสำนักงานทั้งระบบปรับอากาศและระบบความเย็นต่างใช้พลังงานที่สูงมากหรือคิดเป็นต้นทุนถึง 60-70% ของระบบทำความเย็น เพราะฉะนั้นหากประหยัดเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทำความเย็นได้ อภิชัยกล่าวว่าอาคารคูลลิ่งแบตที่เรียกว่าเป็นที่แรกในโลกก็ว่าได้ จะเป็นต้นแบบของการก่อสร้างออฟฟิศใหม่ได้หากต้องการเรื่องของการประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับระบบปรับอากาศ นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับห้างสรรพสินค้า โรงงานต่าง ๆ ที่สำคัญต้องมีพื้นที่สำหรับคูลลิ่งแบตในห้างสรรพสินค้าใช้บริเวณจอดรถได้ หรือเก็บไว้บริเวณใต้ดิน ซึ่งใช้พื้นที่ไม่มาก ส่วนอาคารสำนักงานเก่าสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ โมเดลของอาคารสำนักงาน ไอ.ที.ซี. มีต้นทุนก่อสร้างและวางระบบคูลลิ่งแบต ประมาณ 10.8 ล้านบาท เทียบกับการติดตั้งระบบความเย็นทั่วไปอยู่ที่ 8.6 ล้านบาท คำนวณระยะเวลาคืนทุน 4-5 ปี
             หลังจากนั้นเท่ากับอาคารสำนักงานอาจไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ ส่วนเรื่องความปลอดภัยของคูลลิ่งแบตนั้นได้ออกแบบให้มีระบบระบายอากาศสำหรับคาร์บอนไดออกไซด์รั่วไหลอยู่ด้านบนซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่โอกาสที่เกิดขึ้นน้อยมาก.
post on Sunday 4th January 2015.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 57.03 KBs
Upload : 2015-01-04 22:33:32

Size : 47.09 KBs
Upload : 2015-01-04 22:33:32

Size : 60.48 KBs
Upload : 2015-01-04 22:33:32

Size : 71.02 KBs
Upload : 2015-01-04 22:33:32

Size : 36.52 KBs
Upload : 2015-01-04 22:33:32
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.034243 sec.