Frankshin Article
ปีนี้แล้งแน่
“ปีนี้แล้งแน่ คนกรุงเทพฯต้องกินน้ำกร่อยหลีกเลี่ยงไม่ได้” นักวิชาการด้านชลประทานในเมืองไทย ต่างตบเท้าพยากรณ์ออกมาเป็นแนวทางเดียวกัน
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์์ วันเสาร์ 17 มกราคม 2558 เวลา 00:30 น.
“ปีนี้แล้งแน่ คนกรุงเทพฯต้องกินน้ำกร่อยหลีกเลี่ยงไม่ได้”
นักวิชาการด้านชลประทานในเมืองไทย ต่างตบเท้าพยากรณ์ออกมาเป็นแนวทางเดียวกันว่าสถานการณ์น้ำตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาแล้งหนัก จนกรมชลประทานต้องเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลต้องออกมติคณะรัฐมนตรีให้เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน งดทำนาปลูกข้าว
เพื่อให้เรื่องนี้กระจ่างว่าเราจะเจอภัยแล้งระดับไหน คนไทยต้องเตรียมตัวกันอย่างไร ทีมข่าว “การเมืองเดลินิวส์” จึงขอสัมภาษณ์ “นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ” อธิบดีกรมชลประทาน และ นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งถือว่าเป็น 2 กุนซือด้านน้ำคนสำคัญที่สุดในประเทศขณะนี้ ภาพรวมสถานการณ์น้ำขณะนี้เป็นเช่นไร
(นายเลิศวิโรจน์) ช่วงที่ผ่านมามีฝนหลงฤดูเข้ามาเพิ่มปริมาณน้ำบ้าง แต่ไม่มากอย่างที่หวัง การบริหารจัดการน้ำต้องทำกันเข้มข้น
ซึ่งเราต้องเจอกับภัยแล้งในปีนี้แน่นอน แต่มั่นใจว่าสถานการณ์น้ำเค็มรบกวนระบบผลิตประปาไม่เหมือนปี 2557 แน่นอน ขอให้เชื่อมั่นการทำงานของกรมชลประทาน เราจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด น้ำกินน้ำใช้ต้องเพียงพอเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นหลัก
(นายรอยล) กรมชลประทานมีแผนไว้หมดแล้ว แต่จะรองรับภัยแล้งได้แค่ไหนไม่รู้ หลายจังหวัดต้องมีรถน้ำเข้าไปช่วยเหลือประชาชน และตามแหล่งน้ำต่าง ๆ แห้งขนาดเดินข้ามได้หลายแห่ง ไม่ทราบว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งจะรุนแรงแค่ไหน และในช่วงที่ผ่านมายังต้องเจอกับปัญหาน้ำเค็มดันขึ้นมา จนทำให้ค่าความเค็มเกือบเกินมาตรฐานแล้ว ภัยแล้งทำให้คนกรุงเทพฯต้องกินน้ำกร่อยหรือไม่
(นายเลิศวิโรจน์) ชลประทานมีแผนละเอียดโดยให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก จะดูต้นทุนน้ำในแต่ละอ่างเก็บน้ำและดูการแบ่งระบาย
ถ้าใช้ตามที่เรากำหนดสามารถจัดสรรได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากในลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งเป็นระบบใหญ่ มีการใช้น้ำมากขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพลลงมา 22 จังหวัด และท้ายเขื่อนสิริกิติ์ลงมา จนถึงกรุงเทพฯ และออกอ่าวไทย ปัญหาเกิดขึ้นจากเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามแผนเพาะปลูกฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงน้ำกินน้ำใช้ และการผลิตน้ำประปา
ในปีนี้กรมชลฯงดส่งน้ำทำนาปรัง แต่ยังมีปลูกไปถึง 3.5 ล้านไร่ ที่เรียนรู้ประสบการณ์จากปีที่ผ่านมาปรับใช้ว่า ต้องพูดถึงสถานการณ์น้ำปีนี้ เมื่อสิ้นฤดูฝนเรามีอ่างเก็บน้ำใหญ่ 33 แห่ง อ่างเก็บขนาดกลาง 488 แห่ง บริหารจัดการพื้นที่ชลประทาน 29 ล้านไร่ลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มแม่กลอง ในส่วนลุ่มเจ้าพระยามีอ่างเก็บน้ำต้นทุน 4 แห่ง เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสัก หลักการชลประทานอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และสำรองน้ำไว้ต้นฤดูกาล ซึ่งถ้ามีน้ำเหลือจะสนับสนุนปลูกพืชฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำจัดสรรน้ำหน้าแล้ง ซึ่งฝนไม่ตกเลยหรือตกน้อยมากถึง 6 เดือน
(นายรอยล)
สถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำลำน้ำทั้งเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยมีค่าความเค็มเกินกว่า 0.2 กรัมเกลือต่อลิตร ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง สภาพน้ำค่าตัวเลขได้จากนักวิชาการ แม่น้ำท่าจีนความเค็มสูงมาก ช่วงสัปดาห์ที่แล้วค่าความเค็มเกลือต่อลิตร ก่อนถึงคลองจินดา บางช่วงสูงถึง 7 กรัมเกลือต่อลิตร
คลองลัดโพธิ์ แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงคลองสำแล คลองผลิตน้ำประปาตะวันออก ห่างจากอ่าวไทย 91 กิโลเมตร ระดับความเค็มเกินกว่า 0.2 กรัมเกลือ แม้ว่าปริมาณน้ำสำรองพอ
แต่หากเกิดปัญหาแบบนี้เดือดร้อนกันหนักแน่ ผมได้แต่พยายามจะสื่อสารให้ทุกหน่วยงานตื่นตัว ในสัปดาห์นี้ต้องเฝ้าระวัง อาจเกิดประเด็นน้ำเค็มเข้าพื้นที่ภาคกลาง เพราะทะเลในอ่าวไทยสูงมากในวันที่ 18-19 ม.ค.ถึงปลายเดือนนี้
ผนวกกับมีพายุเข้าประเทศฟิลิปปินส์ ตอนกลาง จะส่งผลให้ทิศทางน้ำทะเลในอ่าวไทยน่าจะสูงขึ้น ต้องคำนวณล่วงหน้าจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้า 3 วัน ว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร หลายฝ่ายวิตกถึงปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำมาเร็ว เกรงจะเหมือนกับที่เคยเกิดในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี 2557
(นายเลิศวิโรจน์)
วันนี้เราของดส่งน้ำนาปรัง ไม่มีน้ำให้ ข้อเท็จจริงปลูกถึง 3.5 ล้านไร่ ซึ่งต้องใช้น้ำไปบางส่วน ถามว่าวันนี้น้ำที่มีอยู่จะมีปัญหาน้ำเค็มลุกล้ำเกินค่าปกติหรือไหม ผมมองดูตัวเลขแล้วไม่น่ามีปัญหา ปริมาณน้ำมีพอเพียงไม่ให้เกิดปัญหาเลย เพียงแต่ว่าวันนี้เราระมัดระวังไม่ปล่อยน้ำสิ้นเปลือง แต่อาจเกิดปัญหาได้บางช่วงเกษตรกรดึงน้ำไปใช้ อาจเกิดปัญหาได้
น้ำที่ระบายลงมาเพื่อผลักดันน้ำเค็มอาจขาดไปบ้างในบางช่วงที่เราคาดไม่ถึง แต่กรมชลฯวางแผนน้ำไว้ใน 4 อ่างใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ คาดว่าแก้ปัญหาได้ แต่ต้องตามดูตลอดช่วงหน้าแล้ง แต่หากเกิดปัญหาฉุกเฉินจริง ๆ เกษตรกรเอาน้ำไปใช้โดยที่เราไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า จะกันน้ำส่วนหนึ่งที่ระบายจากเขื่อนป่าสักฯเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉิน เพราะอยู่ใกล้ปากคลองสำแล จ.ปทุมธานี คลองน้ำดิบผลิตประปา จะมีจุดเฝ้าระวังปากคลองสำแล สถานีวัดน้ำ และสถานีวัดน้ำบางไทร ควบคุมค่าความเค็มไม่เกิน 0.25 กรัมเกลือต่อลิตร ส่วนในจุดที่เราคุมค่าความเค็มได้ยากในจุดที่ต่ำลงมาในข้อเท็จจริง
ซึ่งไม่ได้ใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหลังจากจุดปากคลองสำแลแต่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร
ในระบบเจ้าพระยามีประตูน้ำ ควบคุมด้วยประตูน้ำ เปิดปิดตามจังหวะน้ำทะเล
นอกจากนี้กรมชลฯยังทำงานร่วมกับการประปานครหลวง คอยประเมินว่าหากช่วงไหนน้ำเค็มมันเกิน การประปาฯ ก็ไม่สูบน้ำช่วงนั้น แต่เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาดังกล่าว “วันนี้ผมสั่งให้ทุกหน่วยงานร่วมกันเฝ้าติดตามระมัดระวังเป็นรายชั่วโมง
น้ำทะเลหนุนสูงสุดเริ่มตั้งแต่ 18 ม.ค.ถึงปลายเดือนนี้ และมีหนุนเรื่อย ๆ จนถึงสูงสุดช่วงต้นและกลายเดือน เม.ย.
ซึ่งจะเกิดสถานการณ์ลมพัดปากอ่าวขึ้น จึงต้องดูให้สอดคล้องกับการระบายน้ำ ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมากที่สุด ต้องเฝ้าติดตามทุกระยะ มั่นใจน้ำประปาไม่เค็มแน่นอนปีนี้ เพราะได้เตรียมน้ำสำรองผลักดันน้ำเค็มแม่น้ำเจ้าพระยา 600 ล้านลบ.ม. ลุ่มน้ำท่าจีน 500 ล้านลบ.ม. แม่กลอง 300 ล้านลบ.ม.”
(นายรอยล)
คิดว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ยังจะพอผลักดันน้ำเค็มถ้าคุมไม่ให้มีการทำนาปรังอยู่ แต่ในเดือน ก.พ.-มี.ค.2558 เกษตรกรจะสูบน้ำไปมาก จากการทำนา 3.5 ล้านไร่
ปริมาณน้ำอาจมาไม่ถึงตามที่คาดการณ์ เพราะตลอดทางมีนาปรังอยู่ อยากให้กรมชลฯเตรียมแผนแก้ไขให้ทันเหตุการณ์ อธิบดีกรมชลฯอย่ามั่นใจมากว่าจะเอาอยู่ ควรเตรียมเฝ้าระวังเพราะจุดที่วิกฤติรู้หมดแล้วว่าจุดไหนต้องเฝ้าระวังตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงเดือน เม.ย. 2558
post on Sunday 18
th
January 2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 14.90 KBs
Upload : 2015-01-19 03:45:47
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.032431 sec.