Frankshin Article
เวนคืนอย่าเสียใจ
นี้มาดูกันต่อกับ
แนวทางการบริหารจัดการเวนคืนที่ดินเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้
“อย่างบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น”
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ 19 มกราคม 2558 เวลา 06:30 น.
นี้มาดูกันต่อกับแนวทางการบริหารจัดการเวนคืนที่ดินเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้ “อย่างบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น” ที่ผมอยากให้ข้อคิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ครับ
การพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน
ประเทศไทยขาดระบบการแจ้งราคาซื้อขายจริงตามท้องตลาดเพราะถ้าแจ้งจริงซึ่งมักสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ ประชาชนก็ต้องเสียภาษีสูงขึ้น ประชาชนจึงมักพยายามหลีกเลี่ยง ดังนั้นเราจึงต้องพยายามสร้างฐานข้อมูลการซื้อขายที่เป็นจริง วิธีการสร้างก็อาจใช้การลงโทษผู้ที่ไม่แจ้งตามจริงด้วยการปรับให้หนักขึ้น หรืออีกทางหนึ่งก็คือการลดภาษีและค่าธรรมเนียมลง ในการนี้ยังอาจต้องกำหนดให้ทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าระดับหนึ่ง (เช่น 1, 3 หรือ 5 ล้านบาท) ต้องทำการประเมินค่าทรัพย์สินทุกครั้งก่อนการโอน โดยทางราชการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองเพราะคงคุ้มที่จะเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมโอนได้สูงขึ้นกว่าราคาประเมินของทางราชการ เมื่อมีฐานข้อมูลการซื้อขายที่เป็นจริงแล้วก็ต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบด้วย เพื่อคนที่คิดจะซื้อ ขายจำนอง แบ่งแยกมรดก ฯลฯ จะใช้เป็นฐานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยตนเองในทางหนึ่ง และโดยเฉพาะผู้ประเมินเพื่อการเวนคืนจะสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการประเมินค่าทดแทนอีกทางหนึ่ง การเปิดเผยข้อมูลเช่นนี้ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ทำเพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้ง ๆ ที่ในอารยประเทศให้เผยแพร่ได้ ผมก็เห็นว่าควรเผยแพร่เพื่อความโปร่งใสและอาจถือเป็นการป้องกันการฟอกเงินอีกด้วย การมีระบบฐานข้อมูลนี้จึงถือเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน (เพื่อการเวนคืน) โดยเฉพาะ สิ่งที่แปลกอีกอย่างก็คือ เราไม่มีระบบที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน
ถ้าไม่มีการควบคุมคุณภาพที่ดี (quality control) ไม่มีการออกสุ่มสำรวจผลการทำงานของบริษัทประเมินต่าง ๆ ไม่มีการลงโทษตรงไปตรงมาและเด็ดขาดก็อาจมีบริษัทประเมินหรือผู้ประเมินที่จะกระทำการทุจริตฉ้อฉลได้
โดยที่ผลเสียก็จะตกแก่วิชาชีพและผู้ใช้บริการโดยรวม เช่นที่เคยเกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องผมก็เคยเสนอไปทาง กลต.ในกรณีต่าง ๆ เหล่านี้เช่นกัน
ศึกษาและเผยแพร่ความรู้ต่อเนื่อง
ประชาชนควรมีโอกาสทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเวนคืนเพื่อทราบถึงความจำเป็นสิทธิและค่าทดแทนที่ตนควรได้รับด้วยความเป็นธรรม การเผยแพร่ความรู้เหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เราได้เรียนรู้จากสหรัฐอเมริกาว่ากฎหมายเวนคืนที่ดีต้องแก้ไขได้บ่อย ๆ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หากระบบกฎหมายของเรายังตายตัวแก้ไขหรือปรับปรุงเพื่อประโยชน์ของมหาชนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ การเวนคืนทรัพย์สินก็อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น เทคนิควิทยาการที่สมควรได้รับการเผยแพร่ ได้แก่ การสร้างแบบจำลองทางสถิติเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน (CAMA : computer-assisted mass appraisal) ซึ่งผมเป็นคนแรกที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2533 ในงานศึกษาให้กับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสามารถใช้เพื่อการประเมินค่าทดแทนได้ แต่ประเทศไทยในขณะนั้นก็ไม่มีการศึกษาทางด้านนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อปี 2537 ผมจึงได้สร้างแบบจำลอง CAMA ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และจนถึงปี 2540 อ.แคล้ว ทองสม และคณะจึงได้ทดลองสร้างแบบจำลองขึ้นบ้าง และ
หลังจากนั้นเมื่อผมเป็นอาจารย์สอนวิชาการประเมินค่าทรัพย์สินตั้งแต่รุ่นแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เริ่มมีการสร้างแบบจำลองเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ได้เผยแพร่ให้แพร่หลาย ดังนั้นในประเทศไทยจึงควรจัดการประชุม วิชาการกันทุกปีเพื่อพัฒนาเทคนิควิทยาการใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ
แก้ที่ระบบการเมืองของประชาชน
การที่ข้าราชการบางส่วนไม่สามารถริเริ่มสร้างสรรค์งานเวนคืนที่เป็นธรรม หรือการที่ระบบกฎหมายของเราเปลี่ยนแปลงช้าทำให้ผลประโยชน์ของประชาชนเสียหาย รวมทั้งการที่นักวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินไม่ได้รับการควบคุมเพื่อผู้บริโภค ก็อาจเป็นเพราะระบอบการเมืองที่ผู้มีอำนาจไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อยากให้ระบบบริหารระบบรัฐสภาอ่อนแออยู่เช่นนี้เพื่อให้คงสถานะของที่ผู้ได้เปรียบในสังคมเจ้าของที่ดินรายใหญ่จึงจะได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพราะไม่อยากถูกเวนคืน ดังนั้นโดยที่สุดแล้วเราต้องพัฒนาระบบการเมืองที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้งให้ประชาชนมีอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อจะได้ผลักดันและบังคับใช้กฎหมายที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม การนี้จึงต้องเริ่มต้นที่ประชาชนทำให้ประชาชนรากหญ้ารู้สิทธิและหน้าที่แห่งตนและให้เห็นว่า ตาสีตาสา กับผู้มีลาภยศบารมีล้วนมีเสียงเดียวเท่ากันในประเทศนี้ ไม่มีใครใหญ่และครอบงำใครได้ รณรงค์ให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าตนนั้นคือเจ้าของประเทศที่แท้จริงสามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งตนและส่วนรวมได้
คิดให้ไกลออกไป
ตามกฎหมายเวนคืนปัจจุบันเราจะเอาที่ดินที่ถูกเวนคืนไปทำประโยชน์ในทางธุรกิจไม่ได้
โดยนัยนี้คงเป็นเพราะกลัวว่าจะเป็นการเอื้อต่อกลุ่มผลประโยชน์หรือแม้แต่โครงการเมืองใหม่ก็มีอันต้องเป็นหมันเพราะหากเวนคืนที่ดินใครมาจะมาจัดสรรสร้างเป็นเมืองเป็นชุมชนโดยขายเป็นบ้านให้อยู่อาศัยกันไม่ได้ ถ้าไม่มีการเวนคืนจะมีถนนรัชดาภิเษกช่วงคลองเตยที่แม้แต่บ้านคนรวยก็ยังต้องรื้อ หรือจะมีสะพานพระรามที่ 8 ที่ช่วยระบายการจราจรหรือโปรดสังวร แต่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และจีน ต่างสามารถเวนคืนที่ดินเอกชนมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การมีระบบตรวจสอบที่ดีเพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์แก่ พวกพ้องเป็นสำคัญ การที่การพัฒนาประเทศชาติสะดุดเพราะไม่สามารถเวนคืนทรัพย์สินของปัจเจกบุคคลได้ จะทำให้ความเจริญของประเทศถูกฉุดรั้งและลูกหลานไทยในอนาคตอาจเป็นผู้รับผลร้ายเหล่านี้ เราจึงควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนในเรื่องการเวนคืน เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนของประเทศชาติตลอดไป
หมายเหตุ ผมเคยจัดประกวด เรียงความชิงโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจัดทำ
หนังสือ “ถูกเวนคืน อย่าเสียใจ” โดยผมเป็นบรรณาธิการ ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ www.thaiappraisal.org/thai/journal/order.php?p=publicationb12.php
ลองดูนะครับ.
post on Monday 19
th
January 2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 450.43 KBs
Upload : 2015-01-19 16:39:30
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031864 sec.