Frankshin Article


แรงบันดาลใจ
ปัจจุบันแม้ว่าโครงการ พสวท.จะลดความโดดเด่นลงไปบ้าง เพราะมีโรงเรียนด้านวิทยาศาสตร์โดยตรงมากขึ้น แต่ 30% ของงานวิจัยไทยที่ได้รับการตีพิมพ์ปัจจุบันก็ยังมาจากนักเรียน พสวท.
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ 22มกราคม 2558 เวลา 02:18 น.
ปฏิเสธไม่ได้ว่า.. ความสำเร็จในอาชีพหรือหน้าที่การงานของคนในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงบันดาลใจ และในสายอาชีพนักวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน แม้ว่าวันนี้บุคลากรในสายอาชีพนี้ จะยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก

แต่อะไรคือ “แรงบันดาลใจ” ให้หลาย ๆ คน ก้าวมาสู่อาชีพนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งในอดีตสาขาวิชาแบบนี้ไม่เคยติดคณะยอดฮิตที่บรรดาหัวกะทิต้องแข่งขันแย่งกันเข้ามาเรียน

“อาจารย์ชัยวุฒิ บุญญศิริวัฒน์” อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตนักเรียนรุ่นแรกที่เข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติของอินเทล หรืออินเทลไอเซฟในปี ค.ศ. 1998 บอกถึงแรงบันดาลใจในการมาเป็นอาจารย์นักวิจัยด้านฟิสิกส์ในปัจจุบันว่า เรียนอยู่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ตั้งแต่ ม.1 เนื่องจากสนใจด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ จึงเข้าร่วมในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ในระดับ ม.4 -ม.6 และการเรียนทุน พสวท. นี่เอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัย ซึ่งได้รับทุนเรียนต่อจนจบปริญญาเอก จากสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบแล้วได้กลับมาสอนวิชาฟิสิกส์ที่ ม.มหิดล และได้ทำงานวิจัยควบคู่ไปด้วย โดยงานวิจัยที่ทำอยู่คือการจำลองการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ และการใช้คลื่นแผ่นดินไหวในการสำรวจแหล่งน้ำมัน อาจารย์ชัยวุฒิ บอกว่า ปัจจุบันแม้ว่าโครงการ พสวท.จะลดความโดดเด่นลงไปบ้าง เพราะมีโรงเรียนด้านวิทยาศาสตร์โดยตรงมากขึ้น แต่ 30% ของงานวิจัยไทยที่ได้รับการตีพิมพ์ปัจจุบันก็ยังมาจากนักเรียน พสวท. สำหรับการเป็นตัวแทนประเทศไทยรุ่นแรกที่เข้าร่วมประกวดผลงานในงาน “อินเทลไอเซฟ” ที่สหรัฐ อเมริกา

อาจารย์ชัยวุฒิ เล่าว่า เริ่มจากการพัฒนาโครงงานเข้าร่วมการประกวดโปรแกรมซอฟต์แวร์ขนาดเล็กกับเนคเทค หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยโครงงานที่ทำจะเป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการอธิบายทฤษฎีต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ เช่น การสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไทล์ เมื่อชนะเลิศการแข่งขันจากเนคเทค จึงได้เป็นตัวแทนประเทศไทยร่ามประกวดผลงานในงาน “อินเทลไอเซฟ” ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการได้เข้าร่วมงานแสดงผลงานของเยาวชนที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ทำให้ได้เห็นผลงานที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก

ด้าน “นายอินทนนท์ ลาภเกรียงไกร” นักเรียนชั้น ม.6 ในโครงการ พสวท. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย บอกถึงเป้าหมายในอนาคตว่า เพราะอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงเลือกเข้าโครงการ พสวท. แม้จะเรียนหนักกว่าปกติ แต่ก็ชอบการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเคมีและวัสดุศาสตร์ “การเรียน พสวท. ทำให้ได้ทำวิจัยในสิ่งที่อยากทำ มีโอกาสใช้เครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ดี แต่ก็อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการเรียนรู้และเปิดโอกาสในการทำการวิจัยให้กับเยาวชนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการด้วย เพราะเขาเหล่านั้นก็มีความคิดที่ดี มีความรู้ แต่ขาดเครื่องมือในการทำวิจัย”

“คุณสติยา ลังการ์พินธุ์” ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา บริษัทอินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ บอกว่า การที่อินเทลเติบโตได้ ก็เพราะนวัตกรรม จึงต้องการให้เด็กไทยสามารถสร้างนวัตกรรมเองได้ จึงสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง พสวท. และสนับสนุนการเข้าร่วมประกวดในเวทีอินเทลไอเซฟ ซึ่งไม่ได้อยากให้เด็กหวังแค่รางวัล เพราะที่สำคัญกว่านั้น ก็คือการนำความรู้ไปต่อยอด และจุดประกายให้เกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

นี่แค่ตัวอย่าง ... หากจะเร่งสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ตามนโยบายภาครัฐ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการแข่งขันอย่างยั่งยืนแล้ว คงไม่ใช่แค่การสนับสนุนเพียงโครงการใดโครงการหนึ่ง แต่ต้องให้โอกาสกับเยาวชนทุกคน ซึ่งเริ่มได้จากการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์กันมากขึ้นนั่นเอง !!!.

นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com
post on Thursday 22nd January 2015.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 48.72 KBs
Upload : 2015-01-21 21:11:23
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.031659 sec.