Frankshin Article


จัดการพลังงาน
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 20 ล้านบาท และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งงบประมาณสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง

ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันอังคาร 27 มกราคม 2558 เวลา 03:54 น.
ระบบบริหารจัดการพลังงานของอาคาร - ฉลาดสุด ๆ
ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นทุกปี แต่แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้ามีอยู่อย่างจำกัด จนทำให้ไทยต้องซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของทั้งประเทศ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานของอาคาร หรือ R&D on Building Energy Management System Technology (EECU-BEMS) ขึ้น โดยให้ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการทำงานวิจัยนี้ หวังให้ผลงานวิจัยได้ถูกนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีขยายการใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ไทยสามารถประหยัดพลังงาน และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

ผศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 20 ล้านบาท และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งงบประมาณสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง และได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อพัฒนาระบบการจัดการพลังงานในอาคาร โดยใช้บริเวณอาคารของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นพื้นที่ต้นแบบ

“ในปัจจุบันมีระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารของเอกชนหลายราย แต่มีข้อจำกัดที่เป็นระบบปิด เมื่อนำมาใช้แล้วไม่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์จากเอกชนรายอื่น หรือไม่สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และระบบของเอกชนรายนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว จึงมีแนวความคิดจะวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้อุปกรณ์ของรายใดก็ได้

นอกจากนี้ระบบที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นการรวมศูนย์และต้องมีคนคอยมอนิเตอร์ตรวจสอบแล้วทำการตัดสินใจ จึงอยากพัฒนาให้มีระบบแสดงผลที่สามารถเข้าสู่ระบบแล้วรู้ได้เลยว่า ห้องไหนมีการใช้ไฟฟ้าอย่างไร ใช้มากน้อยแค่ไหน ถ้าต้องการประหยัดไฟจะรู้ได้เลยว่าต้องทำอย่างไร ควรเปิดปิดไฟเวลาไหน และหากมีการใช้ไฟฟ้าเกินโควตา หรือเกินจำนวนที่กำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังเฟซบุ๊กของเจ้าของห้องเพื่อให้ปรับพฤติกรรมและลดการใช้ไฟฟ้าลง”

ผศ.ดร.กุลยศ กล่าวถึงแนวคิดของงานวิจัย งานวิจัยในโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ใช้ระยะเวลา 1 ปีครึ่ง และได้เสร็จสิ้นโครงการเมื่อ 4-5 เดือนที่ผ่านมา ใช้ทีมงานกว่า 26 คน แบ่งเป็น กลุ่มอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ 10 คนและผู้ช่วยนักวิจัยที่เป็นนิสิตในระดับปริญญาโท-เอก 10 คน และเจ้าหน้าที่ในคณะอีก 6 คน โดยได้ทำการออกแบบและพัฒนา 2 อุปกรณ์หลัก คือ
1. เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการติดตั้งในทุกห้องของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อใช้วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง การเคลื่อนไหวของคนที่อยู่ในห้อง เพื่อรวมข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจ
2. มิเตอร์เพื่อใช้วัดพลังงานไฟฟ้าโดยเก็บข้อมูลเป็นรายวินาทีส่งเข้าระบบส่วนกลาง โดยวงจรเชื่อมต่อทั้งหมดได้ถูกออกแบบเป็นระบบเปิดที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ โดยให้โรงงานเอกชนเป็นผู้ผลิตเซ็นเซอร์ และมิเตอร์ตามที่ทีมวิจัยได้ออกแบบไว้ ทั้งนี้ได้ใช้มิเตอร์จำนวน 200 จุด และเซ็นเซอร์อีก 200 จุด จำนวน 800 ตัว ไปติดไว้ทั่วทุกห้องในอาคารของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า พร้อมทำสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าด้วย โดยได้รับการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิจัย เพราะในอนาคตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์จากญี่ปุ่น และติดตั้งกังหันลมเพื่อใช้ผลิตพลังงานจากลม แล้วนำข้อมูลการผลิตพลังงานที่ได้มาใช้คำนวณในระบบบริหารจัดการไฟฟ้าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลจากระบบในแบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ให้เจ้าของหรือผู้รับผิดชอบห้องต่าง ๆ สามารถดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวได้ หลังจากจบโครงการวิจัยแล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงเก็บข้อมูลได้ 4-5 เดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 1 ปี ในการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบปีต่อปี ว่าจะสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นมูลค่าเท่าไร

อย่างไรก็ตามจากที่มหาวิทยาลัยโตเกียวได้เก็บข้อมูลการทดลองใช้งานที่ญี่ปุ่นนั้น สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณ 30% คาดหวังว่าโครงการวิจัยนี้จะสามารถประหยัดพลังงานได้ใกล้เคียงกัน โดยปัจจุบันภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ถือเป็นภาควิชาที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดของคณะ หรือคิดเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 2.9 ล้านบาทต่อปี หากประหยัดลงได้ 30% คิดเป็นเงินเกือบ 9 แสนบาทต่อปี ขณะที่ได้ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ในระบบฯเป็นเงิน 11-12 ล้านบาท จึงถือว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะใช้เวลา 12 ปี ก็คืนทุน

ขณะที่ตั้งงบประมาณในการบำรุงรักษาระบบไว้ที่ 2 แสนบาทต่อปี แต่ใช้จริงคงไม่ถึง 2 แสนบาท และหากมีการขยายการใช้งานไปในอาคารต่าง ๆ ต้นทุนการผลิตเซ็นเซอร์ และมิเตอร์จะมีราคาถูกลง ทำให้การลงทุนในระบบนี้ใช้งบประมาณน้อยลงด้วย

อย่างไรก็ตามการประหยัดพลังงานที่ดีที่สุด คือการสร้างความตระ
หนักให้ผู้ใช้ไฟฟ้าลดการใช้พลังงานลง ซึ่ง ผศ.ดร.กุลยศ กล่าวว่า ในอนาคตมีแผนจะต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ ให้สามารถควบคุมไฟฟ้าได้ในอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้น จากที่ปัจจุบันเน้นในส่วนของเครื่องปรับอากาศ เช่น สั่งการเปิดปิดไฟของหลอดแอลอีดี และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย รวมถึงนำระบบนี้ไปติดในที่อยู่อาศัยของประชาชนให้เป็นโครงการนำร่อง รวมถึงการขยายโครงการไปยังทุกอาคารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว

สำหรับผู้ที่สนใจโครงการวิจัยชิ้นนี้ สามารถเข้าชมและขอรายละเอียดได้ในงาน Chula Engineering Innovation Expo 2015 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม–1 กุมภาพันธ์ 2558 ตั้งแต่เวลา 10.00–17.00 น. ณ โถงชั้น 1 อาคารวิศวฯ 100 ปี โดย ผศ.ดร.กุลยศ บอกว่า จะนำระบบควบคุมพลังงานในอาคารไปจัดแสดง โดยใช้ Kinect ของไมโครซอฟต์ และจอทีวี เชื่อมต่อกับระบบเพื่อดูว่ามีการใช้งานอย่างไร รวมถึงนำตัวเซ็นเซอร์ และมิเตอร์ ที่ได้ออกแบบขึ้นเองไปจัดแสดง และหากใครต้องการดูการทำงานของระบบจริง ๆ ก็จะมีเจ้าหน้าที่นำชมของจริงที่อาคารของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าด้วย ส่วนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรายใดต้องการข้อมูลวิจัยเพื่อนำระบบไปติดตั้งทดลองใช้งานบ้าง ทางผู้จัดทำโครงการวิจัยก็มีความยินดีอย่างยิ่ง.
จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th

post on Tuesday 27th January 2015.








รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 43.18 KBs
Upload : 2015-01-27 14:14:32
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.032014 sec.