Frankshin Article
นักวิจัยรุ่นใหม่
2 ศาสตราจารย์รางวัล ‘สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล’
เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 06:00 น.
2 ศาสตราจารย์รางวัล ‘สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล’
ขอนักวิจัยรุ่นใหม่ใส่ใจเรื่องเล็ก ๆ ใกล้ตัว
เผยแพร่พระราชเกียรติคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระ บรมราชชนก องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีการจัดตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้มอบรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลให้แก่บุคคล องค์กรที่ปฏิบัติงานหรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข อันเป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ
สำหรับปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 2 ราย จากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ 59 ราย จาก 25 ประเทศ
ได้รับเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย
สาขาการแพทย์ ศ.อากิระ เอ็นโด วัย 81 ปี ประธานกรรมการ บริษัทห้องปฏิบัติการวิจัยไบโอฟาร์มและศาสตราจารย์พิศิษฐ์ เกียรติคุณ คณะเกษตรศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบยาลดไขมันที่ชื่อว่า “คอมแพคติน” ซึ่งเป็นต้นแบบของยากลุ่มสแตติน แยกได้จากเชื้อราเพนนิซิเลียม ซิตรินุ่ม ในปี พ.ศ. 2519 โดยได้ทำการศึกษาวิจัยจากเชื้อรากว่า 6,000 ชนิด จนสามารถค้นพบสารที่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
ส่วนสาขาการสาธารณสุข ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน วัย 86 ปี ศาสตราภิชาน ศูนย์ความมั่นคงด้านสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก ศาสตราจารย์และคณบดีเกียรติคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.จอนห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา หัวหน้าโครงการกวาดล้างโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษได้สำเร็จ
ซึ่งนับเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดแรกและชนิดเดียวที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นโรคที่ถูกกวาดล้างหมดสิ้นไปจากโลกเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2523
ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2557 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล ที่พระที่นั่งบรมราชสถิตย มโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2558 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสว่า โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อหรือไม่ติดต่อก็ตาม ล้วนเป็นภัยคุกคามบั่นทอนสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตของคนเราทุกยุคทุกสมัย ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อ เช่น ไข้ทรพิษเป็นโรคระบาดร้ายแรงที่ทำลายชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากมาแต่สมัยโบราณ ส่วนโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจก็กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการสูญเสียชีวิตในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ได้เสียสละอุทิศแรงกายแรงใจเพื่อนแสวงหาวิธีการบำบัดรักษา ตลอดจนขจัดโรคภัยให้หมดสิ้น จึงนับเป็นผู้มีคุณูปการอย่างสูงแก่มวลมนุษยชาติ ขอแสดงความนิยมชื่นชมด้วยอย่างยิ่ง
สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน ศ.อากิระ เอ็นโด กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ว่า
ขณะไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา เห็นว่าจำนวนของประชากรสหรัฐ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจจำนวนมาก เป็นผลจากการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หลังกลับมาประเทศญี่ปุ่นก็พบว่าชาวญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดในสมองแตกเป็นอันดับหนึ่ง จึงยังคงคิดที่จะหาวิธีการรักษาการลดคอเลสเตอรอล จึงเริ่มศึกษาวิจัยและทดลองในสัตว์หลายครั้งจนได้ตัวยาที่ใช้รักษาในคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้
และขอยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เสด็จไปศึกษาด้านการแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา และทรงนำความรู้กลับมาพัฒนาทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งสิ่งที่ทรงทำนับเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และ
ฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่อยากให้มองการวิจัยและศึกษาจากเรื่องใกล้ตัวพื้นฐาน เช่น เชื้อรา เห็ด ไม่ต้องคิดให้ยากให้หรูหราเกินไป พร้อมให้ยึดหลัก “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
ศ.นพ.โดนัลด์ เอ. เฮนเดอร์สัน กล่าวว่า โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้เนื่องจากมีทีมงานที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี อีกทั้งมีวัคซีนที่ดีในการใช้รักษาประชากรทุกกลุ่ม ระหว่างทำการศึกษาวิจัยได้เดินทางมาประเทศไทย และร่วมพูดคุยถึงการกำจัดโรคไข้ทรพิษ ทำให้ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจและความร่วมมือที่ดี แม้โรคไข้ทรพิษได้ถูกกำจัดไปแล้ว แต่ยังมีโรคติดเชื้อร้ายแรงอื่น ๆ ซึ่งต้องนำไปศึกษาและวิจัยหาวิธีกำจัดต่อไป สำหรับรางวัลที่ได้รับนี้มีความหมายต่อตัวเองและทีมงานมาก เพราะเสมือนเป็นการสร้างกำลังใจที่ดีในการที่จะวิจัยค้นคว้าต่อไป การทำวิจัยควรให้ความสำคัญในทุกอย่าง อย่างเชื้ออีโบลาค้นพบมาตั้งแต่ พ.ศ.2515 แต่ไม่มีใครให้ความสำคัญ จากเชื้อเล็ก ๆ ไม่ร้ายแรงตอนนี้เป็นเชื้อที่ยังไม่มียาสามารถรักษาได้ จึงอยากให้นักวิจัยรุ่นใหม่ให้ความสำคัญของเรื่องเล็ก ๆ ก่อนที่เรื่องเหล่านั้นจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลสู่สังคมในวงกว้าง.
post on Monday 2
nd
February 2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 0.57 MBs
Upload : 2015-02-02 19:18:58
Size : 339.60 KBs
Upload : 2015-02-02 19:18:58
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.032364 sec.