Frankshin Article
'อังกฤษ-เลข-วิทย์
เปิดผลวิจัยทีดีอาร์ไอ
ชี้การศึกษาไทยตกต่ำ เด็กอ่อน 3 วิชาหลัก 'อังกฤษ-เลข-วิทย์'
ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 22:10:32 น
วันที่ 12 ม.ค.2558 ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลในการพัฒนาการศึกษาของประเทศเพื่อให้มีคุณภาพ พบว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ไทยทุ่มงบประมาณด้านการศึกษาไปถึง 4.2 แสนล้านบาท แต่กลับไม่ได้คุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น โดยผลสอบระดับนานาชาติระบุว่า
ผลการเรียนของเด็กไทยในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีการพัฒนาและต่ำลงอย่างต่อเนื่อง อนุมานได้ว่าปัญหาของระบบการศึกษาไทย ไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนงบประมาณ แต่อยู่ที่ความด้อยประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ดร.ตรีนุช กล่าวว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า
เด็กไทยยังอ่อน 3 วิชาหลัก คือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
แม้นักเรียนไทยจะใช้เวลาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนถึง 6 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ มากกว่านักเรียนในประเทศเกาหลี แต่ผลการสอบระดับนานาชาติกลับได้คะแนนต่ำกว่า
สาเหตุมาจากการขาดแคลนครูที่มีทักษะในสาขาวิชาดังกล่าวด้วยเช่นกัน
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า ความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษายังเป็นปัญหาต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กไทย พบว่า
เด็กที่มาจากครอบครัวฐานะทางเศรษฐกิจดี มีคะแนนสอบดีกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน
สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) ในปี 2553 ซึ่งมีนักเรียนในสังกัด 7.7 ล้านคน โดยนักเรียนจำนวนครึ่งหนึ่งมีฐานะยากจน
ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมเพียงปีการศึกษาละ 1,000 บาทต่อหัวเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการยกระดับการศึกษาของเด็กยากจน
ดร.ตรีนุช กล่าวด้วยว่า การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละวิชาใหม่
โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึง 3 เรื่องหลัก
ประกอบด้วย
1.การจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนยากจนเพิ่มเติม
2.การเพิ่มความรับผิดชอบของผู้อำนวยการโรงเรียนและครู และ
3.การปรับเปลี่ยนการผลิตครูและการคัดเลือกครูที่มีคุณภาพตามความต้องการของโรงเรียน
และครูต้องสามารถสอนได้หลากหลายวิชาเพื่อตอบโจทย์การขาดแคลนครูในวิชาหลัก “ครูก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ลดการสอนแบบท่องจำมาเป็นการสอนแบบให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้นักเรียนมีวินัยและสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง”
นักวิชาการทีดีอาร์ไอกล่าว
ข่าวสดออนไลน์
post on Saturday 7
th
February 2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 14.94 KBs
Upload : 2015-02-07 20:07:49
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031890 sec.