Frankshin Article
ดึงคนเรียนอาชีวะ
“ณรงค์”
ขอความร่วมมือเอกชนช่วยรณรงค์ทำความเข้าใจเรียนสายอาชีพจบแล้วมีงานทำแน่นอน
หลังพบภาคอุตสาหกรรมและบริการยังมีความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาอีกนับแสน
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดี 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:43 น.
วันนี้( 5 ก.พ.2558) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) ซึ่ง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมได้หารือความร่วมมือกับภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ ทั้งการผลิตกำลังคน และการพัฒนาครูในสายอาชีวะ ซึ่งตนขอความร่วมมือกรรมการที่มาจากภาคเอกชนในฐานะผู้รับประโยชน์จากการผลิตกำลังคนโดยตรง ให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เด็กและผู้ปกครองได้เข้าใจว่า เรียนสายอาชีวศึกษาเมื่อจบแล้วมีงานรองรับแน่นอน เพราะเท่าที่ดูตัวเลขความต้องการกำลังคนในส่วนต่างๆแล้วยังขาดอยู่จำนวนมาก
รวมถึงขอความร่วมมือ เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาและครูอาชีวะเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการเพิ่มขึ้นด้วย
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้ไปดำเนินการ ดังนี้
ส่วนที่ 1.จัดทำฐานข้อมูลที่ชัดเจน โดยตั้งทีมงานวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนแบบเจาะลึก ทั้งในส่วนของความต้องการกำลังคนที่จะตอบสนองการผลิตของประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมและบริการว่ามีจำนวนเท่าไหร่
และความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในแต่ละสาขาและรายพื้นที่ ว่าแต่ละกลุ่มต้องการให้อาชีวะผลิตช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และนักเทคโนโลยีระดับปฏิบัติการเท่าไหร่ เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อไปว่า
ส่วนที่ 2.คุณภาพของคนที่จบอาชีวะ
ต้องมี
ใบรับรองอย่างน้อย 3 แบบ
ได้แก่
แบบแรกใบรับรองคุณวุฒิการศึกษา
แบบที่สองใบรับรองทักษะทางอาชีพ แยกเป็น ใบรับรองมาตรฐานอาชีพ 7 ระดับ ของสถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
และใบรับรองเอ็มอาร์เอ
ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันในประเทศสมาชิกอาเซียนว่าคนที่จะทำงานได้ต้องมีฝีมือในระดับใด และ ใบรับรองของภาคเอกชนที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งได้รับการยืนยันจากภาคเอกชนว่าการให้เงินเดือนจะดูที่ใบรับรองทั้ง 3 แบบ โดยจะบวกเงินเดือนเพิ่มให้ไม่ใช่ดูวุฒิการศึกษาอย่างเดียว
” สำหรับตัวเลขความต้องการกำลังกำลังคนด้านต่าง ๆ อาทิ การท่องเที่ยวที่มีการระบุว่าจะมีนักท่องเที่ยวปีละ 24 ล้านคน และจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องการกำลังคนปีละประมาณ 200,000 คน แต่อาชีวะผลิตได้ปีละประมาณ 1,500-1,600 คนเท่านั้น ส่วนสาขายานยนต์และชิ้นส่วน ตั้งเป้าหมายการผลิตปีละ 3.5 ล้านคัน ขณะนี้สามารถผลิตได้ปีละ 2 ล้านคัน ดังนั้นหากจะขยายกำลังการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายใน 5 ปี จะขาดกำลังคนอีกประมาณ 100,000 กว่าคน โดยต้องการเด็กช่างเทคนิค ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อม แมคคาทรอนิกส์ และเทคนิคการผลิต ปีละ 780,000 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 650,000 คน เป็นต้น” เลขาธิการ กอศ.กล่าว
post on Saturday 7
th
February 2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 60.63 KBs
Upload : 2015-02-08 04:15:20
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.038220 sec.