Frankshin Article


ขายซีดีลิขสิทธิ์ผิดกม.
กรณีของนายสุรัตน์ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในอดีตมีผู้ที่มีฐานะยากจนเก็บแผ่นซีดีเก่าที่มีคนอื่นไม่ใช้แล้วมาวางขายแบกะดิน และถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้ จนถูกพิพากษาให้ปรับเป็นจำนวนหลักแสนบาทเช่นเดียวกัน
เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 05:00 น.

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนให้นายสุรัตน์ มณีนพรัตน์สุดา พนักงานเก็บขยะ กองรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร ที่นำแผ่นซีดีภาพยนตร์เก่า 83 แผ่น ที่เก็บจากกองขยะมาขายแผ่นละ 20 บาท โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ชำระค่าปรับ 133,400 บาท ในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน หากไม่ชำระให้กักขังแทนค่าปรับ ในอัตราวันละ 200 บาท ซึ่งเป็นการพิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ นายสุรัตน์ไม่มีทางเลือกจึงต้องเลือกวิธีกักขังแทนค่าปรับ เดชะบุญที่ด้วยความเป็นพนักงานที่มีความขยันขันแข็ง จึงมีคนที่ให้ความเมตตาชำระค่าปรับให้ ทำให้นายสุรัตน์ได้รับอิสรภาพในที่สุด

บริษัทดังหลายบริษัทในวงการบันเทิงไทยที่เป็นผู้สร้างสรรค์งานและเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ต่างรวมตัวกันผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อต้องการจะหาวิธีการจัดการกับกลุ่มบุคคลหรือขบวนการที่นำเอางานภาพยนตร์ วีดิทัศน์ของตน ไปทำการจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยไม่ต้องลงทุนในการสร้างสรรค์ผลงานแต่อย่างใด แต่กลับได้รับผลประโยชน์อย่างมาก นายสุรัตน์ไม่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพราะแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ที่นำมาวางขายเป็นแผ่นแท้ แม้จะเป็นแผ่นเก่าที่เก็บมาจากกองขยะ แต่ก็มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้

จึงต้องเริ่มคดีโดยมีผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจับกุมและทำการสอบสวนได้ แต่สำหรับ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 53 กำหนดไว้ว่าการประกอบธุรกิจร้านวีดิทัศน์ หรือได้รับประโยชน์ตอบแทน ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้นการนำแผ่นซีดี วีซีดีหรือดีวีดีมาตั้งแผงขาย แม้จะมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เจ้าหน้าที่ตำรวจที่พบเห็นการกระทำความผิดสามารถเข้าจับกุมได้ทันที

การฝ่าฝืนมาตรา 53 มีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท และปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่การฝ่าฝืนยังคงมีอยู่ แม้การกระทำของนายสุรัตน์จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายฉบับนี้ต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องก็ตาม

แต่หากพิจารณาอีกด้านหนึ่ง จะเห็นได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เพราะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมายนั้น ๆ กรณีของนายสุรัตน์ สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 แทนที่ผู้จับและถูกดำเนินคดีต่อศาลจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่กลับกลายเป็นว่าผู้ถูกจับและถูกดำเนินคดีเป็นเพียงผู้มีรายได้เพียงเลี้ยงชีพให้พอกินในแต่ละวัน

อย่างเช่น นายสุรัตน์ กรณีของนายสุรัตน์ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในอดีตมีผู้ที่มีฐานะยากจนเก็บแผ่นซีดีเก่าที่มีคนอื่นไม่ใช้แล้วมาวางขายแบกะดิน และถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้ จนถูกพิพากษาให้ปรับเป็นจำนวนหลักแสนบาทเช่นเดียวกัน ผลสุดท้ายได้มีผู้ใจบุญออกค่าปรับแทนให้ เพื่อช่วยไม่ให้ถูกจำคุกเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจ และถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

วิธีการที่จะแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะนี้คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนั้น ๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการที่เป็นผู้เริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ควรต้องทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย มากกว่าการตีความตามตัวอักษร เช่น กฎหมายฉบับนั้นจะใช้บังคับกับคนกลุ่มใด ก็ควรมุ่งไปที่กลุ่มนั้น เพื่อที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ไม่ทำงานไขว้เขว หรือเมื่อส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดควรใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องคดี ควรพิจารณาว่าการส่งฟ้องจะสมประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ จะสามารถเอาผู้กระทำผิดรายใหญ่มาลงโทษได้หรือไม่ เพราะถ้าสามารถเอาตัวผู้ผลิตมาลงโทษหรือทลายแหล่งผลิตรายใหญ่ ผู้กระทำผิดรายย่อย ๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรมาให้จำหน่าย การใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ย่อมเป็นวิธีหนึ่งที่จะยุติปัญหาเสียแต่ต้น และยังทำให้คดีไม่รกศาลมากเกินไป

ช่น คดีที่พนักงานร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งนำเอาซาลาเปาที่ขายไม่หมดในแต่ละวันไปให้ลูกทาน คดีนี้สำนักงานอัยการสูงสุดใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้อง แต่ในเมื่ออัยการได้ฟ้องคดีแล้ว ศาลยุติธรรมก็จำเป็นต้องพิพากษาไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุง แก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ควรเพิ่มบทบัญญัติการยกเว้นความผิดสำหรับการจำหน่ายแบกะดิน แผงลอย หรือตามทางเท้า โดยผู้ขายไม่ได้มีลักษณะประกอบกิจการเป็นล่ำเป็นสัน โดยมีเงื่อนไขว่าการขายซีดี วีซีดี หรือดีวีดีภาพยนตร์ที่จะได้รับการยกเว้นความผิดต้องเป็นการขายเฉพาะแผ่นที่ถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาผู้กระทำผิดกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ประกอบกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ตามตัวอักษรของกฎหมายมากกว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตัวบทกฎหมาย จึงกลับกลายเป็นว่าเคร่งต่อการบังคับใช้กฎหมาย (มากเกินไป) ทำให้คดีที่ไม่ควรขึ้นสู่ศาลก็ต้องให้ศาลพิจารณาคดี ผู้กระทำผิดที่กระทำความผิดควรได้รับการต่อว่าต่อขาน การประณามจากสังคม การลงโทษตามกฎหมาย กลับกลายเป็นผู้กระทำผิด (ตัวเล็ก ๆ) ที่ได้รับความสงสารจากสังคม เพียงแค่นี้ก็สะท้อนให้เห็นชัดว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพียงใด...
รุจิระ บุนนาค
rujira_bunnag@yahoo.com Twitter : @ RujiraBunnag

post on Monday 9th February 2015.






รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 0.94 MBs
Upload : 2015-02-10 03:30:22
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.031755 sec.