Frankshin Article
ปลาปักเป้า
เมนูจากปลาปักเป้า พิษร้ายเสี่ยงตายสูง!!!
ที่มา: มติชนออนไลน์ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 14:30:00 น.
จากกรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่า มีชาวบ้านกินปลาปักเป้าแล้วเสียชีวิตนั้น ทางดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง ได้ให้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ว่า จากการสำรวจพบว่า
ปลาปักเป้าที่พบในน่านน้ำไทยมีทั้งหมด 42 ชนิด แบ่งเป็นปลาปักเป้าน้ำจืด 9 ชนิด และอีก 33 ชนิดเป็นปลาปักเป้าน้ำเค็มและน้ำกร่อย ปลาปักเป้าที่มีไข่อ่อนจะผลิตพิษโดยพิษจะสะสมอยู่ในอวัยวะภายใน พิษของปลาจะเพิ่มมากขึ้นในฤดูวางไข่
อาการของพิษจะกำเริบขึ้นหลังได้รับพิษจากปลา
อาการพิษที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น4ขั้น คือ
ขั้นแรก
ชาที่ริมฝีปาก
ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน กระสับกระส่าย
ขั้นที่สอง ชามากขึ้น อาเจียนมาก อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง
ยืนและเดินไม่ได้
ขั้นที่สาม
เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้ พูดลำบากจนถึงพูดไม่ได้
เนื่องจากสายกล่องเสียงเป็นอัมพาต ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว
ขั้นที่สี่ กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตทั่วไป
หายใจลำบาก เขียวคล้ำ หมดสติ
รูม่านตาโตเต็มที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่ทนพิษไม่ได้ อาการอาจแรงขึ้นจากขั้นแรกถึงขั้นที่สี่และอาจเสียชีวิตได้ในเวลาเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยสามารถทนพิษได้อาจอยู่ได้นานถึง 24 ชม.ก็จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงหากถึงมือแพทย์
ดังนั้นผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการบริโภคปลาปักเป้า เพราะถึงแม้จะนำปลามาต้มแล้วแต่พิษของปลา ที่ละลายในน้ำก็จะทนความร้อนได้สูงถึง170 องศาเซลเซียส
แม้
หุงต้มแล้วก็ยังคงความเป็นพิษอยู่
อีกทั้ง
ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อเนื้อปลาแล่เนื่องจากไม่มียาแก้พิษ
ปลาปักเป้าชนิดที่มีพิษนั้นแม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ดังนั้นควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะผู้ขายเพื่อที่เราจะไม่ได้เห็นข่าวพี่น้องของเราต้องเสียชีวิตลงเพราะปลาปักเป้าอีกต่อไป
กรมประมงเคยทำการวิจัยพิษปลาปักเป้าน้ำจืด โดยรวบรวมปลาปักเป้าน้ำจืดจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำมาศึกษาพบปลาปักเป้ามีพิษ ได้แก่ ปลาปักเป้าดำ (Tetraodon nigroviridis) พบว่าพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดแพร่กระจายอยู่ในทุกส่วนของร่างกายทั้งในเนื้อเยื่อ หนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ และไข่ของมันด้วย ส่วนความรุนแรงของพิษแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและสถานที่จับ
จากการวิจัยพบว่า พิษของปลาปักเป้าน้ำจืดเป็นพิษที่เรียกว่า พีเอสพี (Paralytic Shellfish Poison, PSP) หรือพิษอัมพาต ซึ่งแตกต่างจากพิษปลาปักเป้าทะเลที่ชื่อ “เททโทรโดท๊อกซิน” (Tetrodotoxin, TTX) ซึ่งพิษทั้ง 2 ชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน แต่แสดงอาการเหมือนกัน
อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า
ปัจจุบันการรักษาพิษจากปลาปักเป้านั้นยังไม่มีตัวยาใดที่สามารถแก้พิษได้
จึงอยากฝากเตือนถึงประชาชนไม่ให้นำปลาปักเป้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็มมาบริโภคโดยเด็ดขาด และหากสงสัยว่าได้รับพิษจากปลาปักเป้าให้รีบ
ขจัดพิษในเบื้องต้นด้วยการหาซื้อผงถ่านจากร้านขายยาทั่วไปมารับประทานเพื่อดูดพิษในร่างกายและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
และข้อสำคัญคือไม่ควรรับประทานปลาปักเป้าเป็นอาหารเพราะยังมีสัตว์น้ำหลายชนิดให้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีอันตราย .
นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่264) พ.ศ. 2545 เรื่อง การกำหนดอาหารที่ห้ามผลิตนำเข้า และจำหน่ายปลาปักเป้าทุกชนิด และอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมอาหาร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2545 ผู้ที่ ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึง สองปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท
post on March4
th
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 47.14 KBs
Upload : 2015-03-04 19:53:30
Size : 93.78 KBs
Upload : 2015-03-04 19:53:30
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.027485 sec.