Frankshin Article
เกาหลีใต้ปราบโกง
ชุนถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ต่อมาลดลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต ส่วนโรห์ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 22 ปีครึ่ง ศาลอุทธรณ์ลดลงเหลือ 17 ปี ก่อนที่ทั้งสองจะได้รับการอภัยโทษ
เดลินิวส์ออนไลน์ วันเสาร์ 7 มีนาคม 2558 เวลา 00:00 น.
กฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นฉบับใหม่ของเกาหลีใต้ ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแบบยกเครื่อง ผ่านการอนุมัติจากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภาในกรุงโซลเมื่อวันอังคาร (3 มี.ค.2558) หลังการยกร่างที่ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเอาจริงเอาจังมาก กับการปราบปรามการทุจริต
เห็นได้จากคนระดับผู้นำประเทศ อย่างอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน และอดีตประธานาธิบดีโรห์ แต-วู ยังโดนจำคุก จากการตัดสินของศาลพร้อมกันในเดือน ส.ค. 2539 ในข้อหาทุจริตรับสินบน และกบฏ ชุนถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ต่อมาลดลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต ส่วนโรห์ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 22 ปีครึ่ง ศาลอุทธรณ์ลดลงเหลือ 17 ปี ก่อนที่ทั้งสองจะได้รับการอภัยโทษ จากอดีตประธานาธิบดีคิม ยัง-ซัม และปล่อยตัวออกจากคุกในเดือน ธ.ค. 2540
ส่วนอดีตประธานาธิบดีโรห์ มู-เฮียนหลังพ้นจากอำนาจในเดือน ก.พ. 2551 กลุ่มคนใกล้ชิดรอบข้างถูกดำเนินคดีทุจริต ตัวเองถูกสอบสวนตามข้อกล่าวหารับสินบน เพื่อปูทางไปสู่การตั้งข้อหาดำเนินคดี เกิดความละอายอดสู ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดหน้าผาความสูง 45 เมตร ใกล้บ้านพักในชนบท ทางตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2552
แม้จะเอาจริงและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง แต่การทุจริตในเกาหลีใต้ยังมีมาก โดยเฉพาะในภาครัฐ จากดัชนีวัดการทุจริตปีล่าสุด ขององค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ “ทรานส์พาเรนซี อินเตอร์เนชั่นแนล” เกาหลีใต้อยู่อันดับที่ 27 ในบรรดา 34 ประเทศพัฒนาแล้ว
ที่รวมตัวกันในนาม องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี
กฎหมายฉบับใหม่สร้างความเบาใจเป็นอย่างมากแก่สำนักงานอัยการ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดีฟ้องร้องเอาผิดคนโกง เนื่องจากไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างเงินหรือของขวัญที่มอบให้กับเจ้าหน้าที่รัฐกับการกระทำในภายหลัง เพราะกฎหมายกำหนดให้ข้าราชการที่รับเงิน ของขวัญ หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านวอน (ประมาณ 29,580 บาท) จะต้องรับโทษทางอาญา
แม้ว่าเงินหรือของขวัญเหล่านั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่การงานก็ตามกฎหมายกำหนดโทษจำคุกผู้กระทำความผิดฐานรับสินบนดังกล่าวไม่เกิน 3 ปี
หลังจากมีผลบังคับใช้ในปลายปี 2559 กลุ่มนักวิจารณ์กล่าวว่า การลบทิ้งภาระการพิสูจน์ สาเหตุและผลที่เกิดโดยตรง จะเป็นการเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกอัยการเล่นงานด้วยเหตุผลทางการเมือง หรือถูกตำรวจกลั่นแกล้ง
ขณะที่สื่อวิจารณ์การขยายขอบเขตครอบคลุมถึงครูโรงเรียนเอกชน และผู้สื่อข่าว ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้สื่อถูกเซ็นเซอร์ กลุ่มผู้ร่างกฎหมายส่วนนี้ให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันครูเอกชนรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ และกลุ่มธุรกิจจ่ายเงินให้สื่อ เพื่อให้เขียนเชียร์ภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งว่ากันว่ามีแพร่หลายรู้กันทั่วไปในเกาหลีใต้ คิม มู-ซุง หัวหน้าพรรคแซนูรี พรรครัฐบาล และเป็นหนึ่งในผู้ยกมืออนุมัติกฎ หมายฉบับนี้ ยอมรับว่า กฎหมายออกมาแบบเร่งรีบเกินไป สาระสำคัญยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก กฎหมายใดที่ใช้ได้กว้างขวาง และคลุมเครือเกินไป จะบ่อนทำลายประสิทธิ ภาพตัวของมันเอง
แต่ ลี ซัง-โบ ประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิมนุษยชน กล่าวย้ำว่า กฎหมายฉบับนี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นจุดเปลี่ยน สำหรับพัฒนาการในอนาคตของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย ส่วนแถลงการณ์ของทรานส์พาเรนซี อินเตอร์เนชั่นแนล สาขาเกาหลีใต้ กล่าวว่า กฎหมายฉบับใหม่แม้จะไม่สมบูรณ์และมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นก้าวย่างสำคัญในการทลายวงจรชั่วร้าย ในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ ด้วยวิธีการที่มิชอบด้วยกฎหมาย และเสนอให้สินบน.
เลนส์ซูม
post on March30
th
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 63.31 KBs
Upload : 2015-03-30 19:40:14
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031827 sec.