Frankshin Article


นวดไทย
ชี้นวดไทยไม่อันตราย หากทำอย่างถูกวิธี เผย10ข้อ 8 กลุ่มเสี่ยง

มติชนออนไลน์ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:25:04 น

นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวเตือนภายหลังมีข่าวในโลกโซเซียลว่า พบหญิงสาวไปนวดแล้วเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การนวดทำให้เกิดอันตรายหรือไม่ ว่า โดยหลักวิชาชีพนวดแผนไทย หากมีการปฏิบัติตามวิชาชีพจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้นวด เนื่องจากตามหลักแล้วก่อนจะนวดต้องมีการซักถามประวัติก่อน ทั้งป่วยเป็นโรคเรื้อรังอะไร มีไข้สูงหรือไม่ เป็นโรคหัวใจ หรือมีความดันสูง เพราะการนวดจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แต่ในคนที่มีโรคความดันโลหิตสูง ก็จะยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้ความดันสูงขึ้น ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ป่วยอยู่แล้ว ดังนั้น หมอนวดที่ผ่านการฝึกอบรมจะทราบดีว่า

สำหรับการนวดไทยมีข้อห้ามอะไรบ้าง
1.มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หรือโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
2.บริเวณที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อ
3. บริเวณกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวข้อเคลื่อน
4.โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้จนมีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
5.โรคผิวหนัง มีแผลเปิดหรือแผลเรื้อรัง
6.โรคติดต่อในระยะที่มีการแพร่เชื้อ
7.โรคมะเร็ง
8.หลังผ่าตัดแล้วแผลยังไม่หายสนิท
9.หลอดเลือดดำอักเสบ
10.กระดูกพรุนรุนแรง

ส่วนกลุ่มที่ควรระวัง คือ 1.เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ 2. โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็งตัว เป็นต้น 3. โรคเบาหวาน 4.โรคกระดูกพรุน 5. มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดหรืออยู่ระหว่างการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 6.บริเวณที่เคยได้รับการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม 7.บริเวณบาดแผลที่ยังไม่หายสนิทดี 8.บริเวณที่ทำศัลยกรรมตกแต่ง

ส่วนกรณีที่เกิดปัญหานั้น ทางญาติไม่ติดใจเอาความ และไม่อยากให้เอาผิดร้านนวด เพราะผลการชันสูตรพิสูจน์ชัดว่า เป็นโรคหัวใจกำเริบ ซึ่งเราจะไปตรวจสอบก็หาไม่พบว่าร้านไหน อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยสำหรับประชาชนทั่วไปที่จะนวดนั้น ควรพิจารณาข้อควรระวังที่กล่าวไปให้ดีๆ ว่าเราเข้าข่ายป่วยเป็นโรคอะไรที่เสี่ยงหรือไม่ และผู้นวดก็ต้องระวังด้วย ซึ่งหากแพทย์ที่ทำการนวดได้ผ่านการอบรมจากกรมการแพทย์แผนไทยฯ และมีมาตรฐานการนวดจะทราบดีว่า จะต้องนวดลักษณะใดบ้าง เพราะอย่างการนวดรักษาก็จะมีสูตรเฉพาะ ที่ไม่ก่ออันตรายต่อผู้มานวด

ดังนั้น หากจะนวดควรเลือกร้านที่มีมาตรฐานหรือพิจารณาว่า ได้รับสัญลักษณ์การรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยฯหรือไม่ หากมีโลโก้ถือว่าผ่านการรับรองแล้ว โดยกรมฯจะมีการประเมินเพื่อยืนยันมาตรฐานทุกปี นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า ปัจจุบันสถานประกอบการนวดไทยมีจำนวนมากหลายหมื่นแห่ง ซึ่งมีทั้งร้านเล็กร้านน้อย หรือแม้กระทั่งนวดชายหาด หลายคนเกิดคำถามว่าจะเชื่อมั่นมากน้อยแค่ไหน

นพ.ธวัชชัย บอกว่า หากขึ้นชื่อว่าเป็นสถานบริการนวดก็ต้องไปขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย แต่หากเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขึ้นทะเบียนโดยสมัครใจ ไม่สามารถเอาผิดได้ แต่ในส่วนของแพทย์ที่ทำการนวดจะได้ชื่อว่าเป็นหมอนวดที่มีมาตรฐานแพทย์แผนไทยนั้น จะต้องผ่านการอบรมกับกรมแพทย์แผนไทยฯ อย่างน้อย 150 ชั่วโมง

ส่วนที่เป็นกลุ่มนวดตามชายหาด ที่ไม่มีร้านประจำ แต่เป็นฝีมือส่วนบุคคลจะต้องไปทดสอบฝีมือจากกระทรวงแรงงาน สำหรับสถานประกอบการนวดที่มีการขึ้นทะเบียน และได้รับมาตรฐานจากกรมการแพทย์แผนไทยปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 3,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ กระจายอยู่ตามโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพอีกว่า 1,000 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่หากมีกฎหมายเฉพาะก็จะมีการบังคับมากขึ้น โดยขณะนี้ สบส. อยู่ระหว่างจัดทำร่างพ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.... หากสามารถประกาศใช้ได้ก็ควบคุมร้านนวดทั่วประเทศให้มีมาตรฐาน รวมทั้งหมอนวดทุกคน

post on May15th,2015.


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 28.65 KBs
Upload : 2015-05-15 15:16:18
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Frankshin
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240

Generated 0.032154 sec.