Frankshin Article
สกัด เมอร์ส
คนไทยร่วมด้วยช่วยกัน สกัด ‘เมอร์ส’ |
เดลินิวส์
คนไทยร่วมด้วยช่วยกัน สกัด ‘เมอร์ส’ ในเรื่องความเหมือน
คือ ต้นตอที่รับเชื้อมาจากประเทศตะวันออกกลาง ไม่มีประวัติสัมผัสกับสัตว์ อูฐ ไม่ได้ดื่มนํ้านมอูฐ ดิบ ๆ และไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อเมอร์ส- โควีแต่อย่างใด
เดลินิวส์ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 เวลา 4:20 น.
จากกรณีที่พบชายชาวโอมาน อายุ 75 ปี ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2558ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นผู้ป่วยรายแรกที่พบในประเทศหลังจากที่มีการระบาดในตะวันออกกลางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
กระทั่งมาระบาดหนักในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือน พ.ค.2558ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้มีการติดตามตัวผู้สัมผัสโรคไปแล้วร้อยกว่าราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงสัมผัสโรครุนแรง
ในขณะเดียวกันกระแสข่าวพบผู้ป่วยรายใหม่ก็ออกมาเป็นระลอก ๆ สร้างความ แตกตื่น ไปทั้งประเทศ หวั่นใจเหลือเกินว่าจะซ้ำรอยการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิเคราะห์ความเหมือน และความแตกต่างกันของผู้ป่วยรายแรกในประเทศ ไทย กับเกาหลีใต้ให้ฟังดังนี้
ในเรื่องความเหมือน คือ ต้นตอที่รับเชื้อมาจากประเทศตะวันออกกลาง ไม่มีประวัติสัมผัสกับสัตว์ อูฐ ไม่ได้ดื่มนํ้านมอูฐ ดิบ ๆ และไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อเมอร์ส- โควีแต่อย่างใด ตรงนี้บ่งบอกถึงความสลับซับซ้อนของโรคที่จนถึงวันนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่ามีการติดมาสู่คนได้อย่างไร แถมยังมีความกังวลว่าโรคนี้จะถ่ายทอดทางอากาศได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม กุญแจสำคัญไขไปสู่ปริศนาว่าโรคจะระบาดรุนแรงหรือไม่ คือ การค้นพบผู้ป่วยรายแรกได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการติดตามผู้สัมผัสโรคอย่างครอบคลุมและทันท่วงที ซึ่งตรงนี้คือความแตกต่างของประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ โดยในส่วนของประเทศเกาหลีใต้กว่าจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมอร์ส ก็กินเวลานานถึง 2 สัปดาห์ ที่ประเทศเกาหลีใต้ แพทย์รู้ตัวช้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการเยอะ เดินทางไปยังคลินิกถึง 2 แห่ง รพ.อีก 2 แห่ง ซึ่งแห่งสุดท้ายคือ รพ.ซัมซุง ซึ่งเป็น รพ.ที่ค่อนข้างมีผู้ป่วยแออัด การที่ไม่ได้เอาตัวผู้ป่วยเข้าห้องแยกโรค แต่อยู่ปะปนกับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่ร่างกายพร้อมจะรับเชื้ออยู่ตลอดเวลา ดังนั้น รพ.จึงกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
ส่วนการค้นพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย เริ่มต้นที่ ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาโรคหัวใจที่ รพ.เอกชน แล้วมีอาการเหนื่อยหอบ ทำให้หลงคิดไปว่าเป็นอาการของโรคหัวใจ และการไม่มีไข้เลยทำให้หลุดออกจากด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) มาได้ แต่โชคดีที่เมื่อมาถึง รพ.แล้วได้รับการเอกซเรย์ปอด และพบว่าเป็นโรคปอดอักเสบโดยตรง จากนั้นจึงมีการส่งเชื้อตรวจที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หลายแห่งซึ่งให้ผลเป็นลบ ต่อมาห้องปฏิบัติการที่จุฬา ซึ่งตนร่วมกับ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี ตรวจวิเคราะห์แล้วเจอเชื้อบวกนั่นหมายความว่า เมอร์ส เข้ามาในประเทศไทยแล้ว นำมาส่งตัวมาห้องแยกโรคที่สถาบันบำราศนราดูร พร้อมกับตรวจเชื้อซ้ำให้ผลเป็นบวกซ้ำอีกรอบ
“การที่ตรวจพบผู้ป่วยเร็วก็ทำให้สบายใจได้บ้าง แต่การจะควบคุมโรคอยู่หรือไม่อยู่ ขึ้นอยู่กับว่าสามารถครอบคลุมผู้สัมผัสโรคได้หมดหรือไม่ หากครอบคลุมได้หมด ไม่ว่าจะเป็นผู้สัมผัสโรคตั้งแต่อยู่ที่ รพ.เอกชน ครอบครัว หรือแม้แต่คนขับแท็กซี่ ติดตามไปถึงครอบครัวของคนเหล่านี้เป็นทอด ๆ เหวี่ยงแหคลุมให้ครบ ถ้าครอบได้หมดก็จะไม่มีปัญหา หากยังตามไม่เจออาจจะต้องมีการประกาศให้ผู้คนเหล่านั้นจัดการตัวเอง และมารายงานตัว” อย่างไรก็ตาม การควบคุมโรคต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชน โดย
1. ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุด โดยที่เราต้องรู้ว่ามีโรคประจำตัวอะไรแล้วรีบรักษาให้กลับมาเป็นปกติมากที่สุด ดูแลตัวเองให้แข็งแรงมากที่สุด ทำให้ลดโอกาสที่เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย หรือถ้าได้รับเชื้อแล้วก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ลดโอกาสในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นต่อไป
2. ถ้ารู้สึกว่าตัวเองไม่สบาย ต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปสู่ผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ ใช้ช้อนกลางทุกครั้งที่ร่วมรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือหลังไปสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่สาธารณะ โดยใช้น้ำสบู่ หรือเจลล้างมือร่วมด้วยก็ได้ ไม่ใช้ภาชนะ เช่น แก้วน้ำร่วมกัน เวลา ไอ จาม ต้องปิดปาก ปิดจมูก อย่าถ่มถุยน้ำลายลงพื้น เป็นต้น ตรงนี้ต้องทำ ให้เป็นนิสัยแม้ว่าจะอยู่ในภาวะปกติ
3. เวลาป่วยก็ต้องเฝ้าสังเกตอาการ หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็ต้องรีบมารักษาทันที โดยเฉพาะในกรณีที่เรามีความเสี่ยงไปสัมผัสโรค ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หรือมีการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนของตัวเองที่อาจจะมีประวัติไปสัมผัสโรคมาก่อน ตรงนี้สามารถสืบได้เป็นทอด ๆ
แม้ว่าอาการน้อยนิดก็ต้องรีบแจ้ง “ประชาชน” ถือเป็นปราการด่านสำคัญที่ตัดสินว่าประเทศไทยจะกลายเป็นพื้นที่แพร่ระบาด หรือควบคุมโรคให้สงบได้โดยจำกัดจำนวนผู้ป่วยเพียงไม่กี่ราย การร่วมด้วยช่วยกันเฝ้าระวังโรคคือทางออกที่ประเทศไทยต้องการ การปกปิด ปิดบังไม่ว่าจะภาครัฐหรือประชาชนมีแต่จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์.
อภิวรรณ เสาเวียง“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/329475
post on July1
st
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031426 sec.