Frankshin Article
แล้งสุดในรอบ 20 ปี
แล้งสุดในรอบ 20 ปี รู้หรือยัง ไทยเหลือน้ำใช้แค่ 1 เดือน !?
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 3 ก.ค. 2558 05:30
ปัจจุบันนี้สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทยเข้าขั้นวิกฤติอย่างมาก เกษตรกรหลายจังหวัดมีปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ทำการเกษตร บางพื้นที่วิกฤติหนักถึงขั้นไม่มีน้ำอุปโภคบริโภค ทั้งที่ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนแต่กลับเป็นฝนทิ้งช่วง ยิ่งทำให้สถานการณ์ภัยแล้งเลวร้ายลง ถึงขนาดที่ต้องทำฝนหลวงมาช่วยเหลือ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงได้อาสาไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ว่าเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง จะแล้งนานขนาดไหน และประเทศไทยจะมีน้ำใช้ได้ถึงเมื่อไหร่ วันนี้มีผู้เชี่ยวชาญมาตอบทุกคำถามที่สงสัย ที่นี่...
‘แล้งสุดในรอบ 20 ปี’
เปิด 3 ปัจจัยสำคัญสู่ปัญหาภัยแล้ง !
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เปิดเผยกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์อย่างตรงไปตรงมาว่า ‘ปีนี้ถือเป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 20 ปี!!!’ โดยระบุปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่ทำให้เกิดวิกฤติภัยแล้ง ได้แก่
1.การบริหารจัดการน้ำที่ไม่ได้บริหารความเสี่ยงร่วมด้วย นั่นคือมีการปล่อยให้ใช้น้ำเกินแผนมาเป็นระยะเวลานาน
2.ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. เกิดฝนทิ้งช่วง ทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม ชาวนาประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และ
3.ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทราบกันดีว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการจัดการปัญหา จึงทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
ด้าน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าวกับทีมข่าวว่า ภัยแล้งครั้งนี้เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ แทนที่ความชื้นจะเคลื่อนตัวมาอยู่ทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย แต่ความชื้นกลับไปสะสมบริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิกแทน ทำให้ฝนไปตกหนักที่อเมริกาใต้ เปรู ภาคใต้ของอเมริกา ซึ่งทุก ๆ 8-9 ปี จะเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ยังถือว่าเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญที่ไม่รุนแรง
เนื่องจากเมื่อปรากฏการณ์นี้หายไปก็จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญาตามมา
น้ำทะเลที่ร้อนจะไหลกลับมาทางทิศตะวันตกก็ทำให้มีฝนมากขึ้น ขณะที่ ร่องมรสุมที่เคยพาดผ่านตอนบนในช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. ไม่แรงเท่าที่ควร ซึ่งปกติตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ค. คือช่วงหน้าฝนที่ร่องมรสุมนี้จะปะทะกับความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ทำให้เกิดฝนตกทางภาคเหนือ โดยในเดือน ก.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนเข้ามาเรื่อยๆ กระทั่งเข้าสู่ภาคกลาง ซึ่งหากมรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงขึ้น โอกาสที่จะเกิดฝนตกหนักในประเทศไทยก็มีสูง
คาดไทยเหลือน้ำใช้ 1 เดือน ขณะที่ หมดช่วงแล้งเดือน ต.ค. !?
อาจารย์เสรี คาดการณ์ว่า ในช่วงเดือน ก.ค. ทั้งเดือนจะเป็นช่วงวิกฤติ เนื่องจากไม่มีฝนเลย แต่ในเดือน ส.ค. อาจจะมีฝนตกลงมาบ้าง ซึ่งก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า น้ำจะเข้าเขื่อนมากน้อยเพียงใด หรือจะสามารถเข้าเขื่อนได้หรือไม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมโดยรอบเปลี่ยนแปลงไป แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่ถึงขั้นขาดน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งอย่างมากก็จะมีน้ำใช้ไปได้อีกประมาณ 1 เดือน นอกจากนี้ สำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญ จะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นสูงสุดประมาณเดือน ต.ค.-พ.ย.
และในช่วงฤดูร้อนปีหน้า จะเกิดผลกระทบภัยแล้งหนักกว่าที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน เพราะประเทศไทยไม่มีต้นทุนน้ำ
ขณะที่ ดร.สมิทธ คาดการณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า “มีน้ำใช้อีกเดือนเดียวก็เป็นบุญแล้ว” แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงแล้งของประเทศไทยหลังจากหมด 1 เดือนที่กล่าวไว้
จะกินระยะเวลาต่อไปอีกประมาณช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. ก็จะหมด
เพราะพายุจะเริ่มเข้ามาแล้วในช่วงนี้
ผลกระทบภัยแล้งนานัปการ ลุกลามในหลายประเทศ ?
ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมีค่อนข้างมาก แต่สิ่งที่ ดร.สมิทธ เป็นห่วงมากที่สุด คือการบริโภคน้ำของประชาชน ส่วนเรื่องเกษตรกรรมยังสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ เกษตรกรอาจปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น มันสำปะหลัง อ้อย แต่อย่าเพิ่งไปปลูกข้าว เพราะข้าวต้องใช้น้ำมาก เมื่อฝนตกหนักค่อยกลับมาปลูกใหม่ ซึ่งหากทำแบบนี้ได้เกษตรกรก็ไม่ลำบาก ฉนั้น รัฐบาลจะต้องสื่อสารกับเกษตรกรล่วงหน้าว่าปีนี้น้ำน้อย หลังจากฝนแล้งจะทำนาได้กี่ครั้ง ควรรอทำนาในช่วงที่มีฝน เพื่อให้เกษตรได้เตรียมตัวรับมือ
ด้าน อาจารย์เสรี อธิบายเพิ่มเติมว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป
การปลูกข้าว การทำเกษตรกรรม จะทำให้เกิดต้นทุนสูงที่จะใช้ชดเชยหรือบำรุงรักษาผลผลิต ส่งผลให้เกิดปัญหาความยากจน ซึ่งการไม่มีน้ำใช้จะส่งผลกระทบโดยรวมทั้งหมด ขณะที่ประเทศใกล้เคียงจะเจออิทธิพลของเอลนีโญหนักกว่าประเทศไทย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หรือประเทศทางตอนใต้ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
โดยพื้นที่เพาะปลูกของประเทศเหล่านี้จะหายไปครึ่งหนึ่ง
แต่เมื่อปลายปีที่แล้วประเทศเหล่านี้ยังมีการเตรียมน้ำต้นทุนไว้เยอะ ฉะนั้น อย่างน้อยๆ น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคจึงไม่มีปัญหา
ส่วนการเกษตรก็ลดลงไปครึ่งหนึ่ง
วิธีแก้ปัญหาภัยแล้ง การบริหารจัดการน้ำสำคัญที่สุด !?
ดร.สมิทธ แนะวิธีแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ต้องเข้ามารับผิดชอบ โดย
1.ติดต่อแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าเหตุการณ์จะเป็นเช่นไร ควรจะให้เกษตรกรทำอะไร หากมีแนวโน้มว่าจะมีฝนตกก็ประกาศให้เกษตรกรเตรียมไถคราดนาไว้ก่อน อย่าเพิ่งรีบหว่านโปรย เมื่อมีฝนตกเพียงพอค่อยเริ่มทำนา
2.ต้องหาแหล่งน้ำสำรอง ตามตำบล อำเภอ ขุดแหล่งน้ำเป็นบ่อขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เก็บกักน้ำจากหน้าฝนมาใช้หน้าแล้ง อย่างน้อยสามารถใช้ในการปลูกพืชผัก สวนครัว หรือสัตว์เลี้ยงได้ นอกจากนี้ ต้องระวังอย่าให้ซ้ำรอยปี 2554 หากมีฝนตกหนักลงมา และมีน้ำไหลเข้าเขื่อนแล้ว ผู้บริหารต้องระวัง เมื่อเห็นว่ามีน้ำเยอะก็จะกักเก็บไว้ในเขื่อนให้มากที่สุดจนเต็มทุกเขื่อนไม่ยอมปล่อยน้ำออกมาบ้าง กระทั่งน้ำใกล้จะล้นเขื่อนก็จะระบายน้ำออกมาพร้อม ๆ กัน จึงทำให้เกิดน้ำท่วม
ฉนั้น เรื่องที่สำคัญที่สุดคือการบริหารจัดการน้ำ ต้องระมัดระวังมีการตกลงกันให้ดีว่าควรปล่อยน้ำที่ไหนเท่าไหร่ จัดเก็บไว้เท่าไหร่ เพื่องานที่สอดคล้อง ส่วนฝนหลวงที่กำลังปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีอย่างมาก
“ประชาชนที่อยู่ในภาคกลาง กรุงเทพฯ ควรใช้น้ำอย่างประหยัด อาจจะต้องเตรียมการซื้อแท็งก์น้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือในช่วงที่มีฝนตกหนักจากลมมรสุมฤดูร้อน”
ผู้เ
ชี่ยวชาญเรื่องภัยพิบัติ ทิ้งท้าย.
post on July3
rd
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.031679 sec.