Frankshin Article
ตำราพิชัยสงครามของซุนวู
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9037 ข่าวสดรายวัน
ตำราพิชัยสงครามของซุนวู
(ตอนจบ) รู้ไปโม้ด โดย...น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
ฉบับวานนี้ (25 ส.ค.) โมน้อยถามมาถึงตำราพิชัยสงครามของซุนวู และถามว่า เขาเป็นใคร
วันนี้มาตอบกันต่อถึงประวัติของซุนวู
ซุนวู หรือ ซุนอู่ หรือ ซุนจื่อ (Sun Tzu) แปลว่า ปราชญ์แซ่ซุน เป็น ผู้เขียน 'ตำราพิชัยสงครามของซุนวู' (ซุนจื่อปิงฝ่า)
ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมาก และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำรามีผู้ประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง
ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดย ซือหม่าเชียน นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ บรรยายถึงซุนวูว่า
เป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่
อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่น ๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัย ๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงครามที่อธิบายโดยซุนวู มีการใช้เพียงแค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล
ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น คาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งนี้ ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้ถูกกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก ขณะที่ใน เลียดก๊ก ซุนวู เป็นสหายกับ อู๋จื่อซี เขาชักชวนซุนวูให้มารับราชการในแคว้นอู๋ ทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋
ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่ อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี ในการฝึก มีนางสนม 2 นางเอาแต่หัวเราะเล่นสนุกสนาน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนั้นทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง
ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลีเชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงครามอย่างเต็มที่ ก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่ สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ
แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผันเพราะ ฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ หลบหนีไปเสียก่อน เยว่อ๋องยุ่นฉาง อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างเปล่ายกทัพมาตีแคว้นอู๋ อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรขึ้นครองแคว้นแทน อู๋อ๋องเหอหลีคิดฉวยโอกาสไปตี ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ตนเองถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่กรรมระหว่างเดินทางกลับแคว้นอู๋ทันที และผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่ว อ๋องยุ่นฉางตลอดไป อู๋อ๋องฟูซาขึ้นครองแคว้นสืบต่อจาก อู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา
อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ แต่ความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตายเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ส่วนของซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่า ต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี
'รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง'
คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินวลีนี้และว่าเป็นคำสอนของซุนวู แต่แท้จริงเป็นการรวมคำพูด 2 ประโยคที่ซุนวูพูดไว้ คือ
'การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง' กับ
'หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด
ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่
หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล'
ฉะนั้นคำสอน 'รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง' จึงไม่มีปรากฏในตำราพิชัยสงครามแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม มีบางกระแสระบุว่า งานเขียนของซุนวู
ที่จริงแล้วเขียนขึ้นโดยนักปรัชญาจีนไร้นาม และซุนวูอาจไม่มีบุคคลจริงในประวัติศาสตร์
post on August27
th,
2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 29.77 KBs
Upload : 2015-08-27 13:50:59
Size : 24.58 KBs
Upload : 2015-08-27 13:50:59
Size : 37.49 KBs
Upload : 2015-08-27 13:50:59
Size : 13.25 KBs
Upload : 2015-08-27 13:50:59
Size : 17.71 KBs
Upload : 2015-08-27 13:50:59
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.034749 sec.