Frankshin Article
ผ่านประเมิน
ธรรมศาสตร์ ปลื้ม!
ผ่านประเมินด้านความเป็นนานาชาติ 5 ดาว
มติชนออนไลน์ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:20:00 น.
(16 ส.ค.58) ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้กำกับดูแลและขับเคลื่อนนโยบายด้านการต่างประเทศของ มธ.เปิดเผยว่า นโยบายความเป็นนานาชาติของ มธ. ถือเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนด้านความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากลของ มธ. ล่าสุด
มธ.ได้รับการประเมินระดับ 5 ดาวในด้านความเป็นนานาชาติ (Internationalization) จาก QS สถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก
การประเมินนี้ จะพิจารณาจากเครือข่ายความร่วมมือเชิงวิชาการและการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาจากต่างประเทศและไปต่างประเทศสูงกว่าเกณฑ์ และมี
นักศึกษาต่างชาติศึกษาที่ มธ.จากกว่า 50 ประเทศ
ปัจจุบัน มธ. มีความร่วมมือด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 300 แห่งจาก 40 ประเทศทั่วโลก
ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ครอบคลุมทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอาเซียน โดยมีขอบเขตความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (student exchange) การแลกเปลี่ยนอาจารย์ (faculty exchange) การทำวิจัยร่วม (research collaboration) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ (knowledge exchange) และการจัดทำโครงการการศึกษาต่างๆ
ดร.นิธินันท์ กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่ว่านี้
ยังรวมถึงการประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบการเทียบโอนรายวิชา หน่วยกิต และการแสดงผลการเรียนบนทรานสคริปต์ ครบทั้งระบบ ระหว่าง มธ. กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือ
ทำให้นักศึกษา มธ. ที่ไปแลกเปลี่ยน 1 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปีการศึกษาในต่างประเทศสามารถสำเร็จการศึกษาในเวลาที่กำหนดในหลักสูตร โดย มธ. เปิดกว้างการเรียนวิชาต่าง ๆ ในต่างประเทศ โดยกำหนดเป็นวิชาการศึกษาเฉพาะเรื่อง (Selected topic) เพื่อให้นักศึกษาสามารถไปเรียนวิชาที่สนใจและไม่ได้เปิดสอนที่ มธ. และโอนหน่วยกิตมาที่ มธ. ได้ โดยไม่กระทบเวลาเรียนทั้ง 4 ปี
ทั้งนี้ มธ. มีหลักสูตรนานาชาติและภาคภาษาอังกฤษกว่า 300 หลักสูตรครอบคลุมในทุกคณะ
ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ศูนย์อาเซียนศึกษา ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเปิดสอนภาษาอาเซียน เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาเวียดนาม ที่บรรจุเข้าไว้ในหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
post on August31
st
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 87.97 KBs
Upload : 2015-08-31 14:25:38
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.032214 sec.