Frankshin Article
ลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียน
สอศ. ส่ง 5 นวัตกรรมให้ครูที่ปรึกษา เดินหน้าลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา
วันที่: 23/09/2015 สร้างโดย: pradmin
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินนโยบายโครงการการลดปัญหาออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ในการประชุมวิชาการ
“การลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ
มีใจความตอนหนึ่งว่า
“การที่เด็กนักเรียนไม่ออกเรียนกลางคันเพียงคนเดียว ก็ถือว่าได้ว่าทำสำเร็จแล้ว”
และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาต้องทำให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาทำการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลผู้เรียน โดยการคัดกรองผู้เรียน และจำแนกออกเป็น
กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา และกลุ่มปกติ
เพื่อให้สามารถดูแลให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนได้ตรงกับสภาพจริง รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการใช้ในระบบดูแลผู้เรียนของสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่าสำหรับแนวทางการดำเนินงานการลดปัญหาการออกกลางคันในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ประกอบด้วย
2 เป้าหมายหลัก
1.ลดการออกกลางคันเป็นศูนย์ และ 2.ดึงกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ออกกลางคันไปแล้วกลับเข้าเรียนต่อ
โดยมี 5 เรื่องที่ตั้งใจไว้ในการดำเนินงานคือ (1).
ข้อมูลการจัดทำข้อมูลแบบรายบุคคล (Portfolio) ตามการแบ่งกลุ่มผู้เรียนในการเรียนอาชีวศึกษา ที่นอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐาน (Data base) แต่ให้มีการบันทึกที่มีการวิเคราะห์ คล้ายกับทะเบียนประวัติคนไข้ของโรงพยาบาล
ถือให้เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งจะเป็นการเฝ้าระวังเด็กนักเรียน นักศึกษา และง่ายต่อการที่จะติดตามการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในอนาคต
(2) ครูทุกคนต้องเป็นครูที่ปรึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องเป็นที่ปรึกษาให้แก่ครู และผู้เรียน
(3) การวิเคราะห์/วิจัย ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต้องทำในภาพรวม (4) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน และ (5) การสนับสนุนจากส่วนกลางที่จะไปช่วยสถานศึกษาดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
โครงการการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มีสถานศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบฯ ในประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. สถานศึกษาต้นแบบที่มีผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ
ได้แก่ 1.วิทยาลัยการอาชีพสอง จังหวัดแพร่ 2.วิทยาลัยการอาชีพไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3.วิทยาลัยเทคนิคสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 4.วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 5.วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร
2. สถานศึกษาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามภารกิจที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ได้แก่ 1.วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2.วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร 3.วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 4.วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา และ5.วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
3. สถานศึกษาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามบริบทของสถานศึกษา
ได้แก่ 1.วิทยาลัยเทคนิคสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร จังหวัดชุมพร 3.วิทยาลัยการอาชีพ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4.วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 5.วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
4. สถานศึกษาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมหรือพัฒนาระบบดูแลผู้เรียนให้กับครูที่ปรึกษา
ได้แก่ 1.วิทยาลัยการอาชีพไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ5.วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
5. สถานศึกษาต้นแบบที่มีการพัฒนานวัตกรรมในการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียน
ได้แก่ 1.วิทยาลัยการอาชีพสอง จังหวัดแพร่ นวัตกรรม “หนังสือเดินทางความดี (D-Passport) 2.วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี นวัตกรรม “เลิฟ โมเดล” (Love Model) 3.วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา จังหวัดลำปาง นวัตกรรม “4 มือประสานพลังยับยั้งการออกกลางคัน” 4.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จังหวัดเชียงราย นวัตกรรม “เพชรเกษตร” และ 5.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง นวัตกรรม “พยุง ประคอง ลองเดิน”
post on September24
th
,2015.
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 129.72 KBs
Upload : 2015-09-24 14:46:14
Size : 183.05 KBs
Upload : 2015-09-24 14:46:14
Size : 187.42 KBs
Upload : 2015-09-24 14:46:14
Size : 173.18 KBs
Upload : 2015-09-24 14:46:14
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
Frankshin
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
เลขที่ 89 ลาดพร้าว101 คลองจั่น บางกะปิ
กรุงเทพฯ10240
Generated 0.034261 sec.